การเขียนและบริหาร แนวปฏิบัติสวัสดิการพนักงาน
(หลักสูตร 2 วัน เข้มเต็มพิกัด)

รหัสหลักสูตร/Couse Code : KDV1-2560 HR

           

 

 

            เป็นที่ทราบกันดีว่า “พนักงาน” คือกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจเสมือนผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ สวัสดิการจึงกลายเป็นคำตอบและวิธีการตอบแทนพนักงานที่นายจ้างจะสามารถให้ได้ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่จะให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข และลดการเกิดคำถามว่าพวกเขาทำงานเพื่ออะไร หลักสูตรแรงรับปีไก่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารองค์กร และเตรียมแผนการทำงานในปีใหม่ 2560

รับรองจะหมดคำถามที่ว่า องค์กรต้องให้ “สวัสดิการ” แก่พนักงานมากน้อยขนาดไหน กุนซือทางด้านกฎหมายแรงงาน อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ ผู้จะมาถ่ายทอดแบบไม่กั๊ก ถึงหลักการเขียนแนวปฏิบัติให้ปลอดภัยจากการถูกปรับ คิดดอกเบี้ย และต้องรับโทษทางอาญาถึงจำคุก  ซึ่งองค์กรหลายแห่งที่นำหลักการนี้สามารถรอดพ้นวิบากจากการถูกจำคุก ถูกปรับ และจ่ายดอกเบี้ย เงินเพิ่ม เป็นแสนเป็นล้านที่เกิดจากการตีความว่าเป็นค่าจ้างย้อนหลังสูงสุดถึง 13 ล้านบาท มาแล้ว

 

วิทยากร
(Lecturer)

    อาจารย์กฤษฎ์  อุทัยรัตน์    ·      
    ·      วิทยากรประจำสถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ หลักสูตร ผู้บริหารหัวหน้าศาลในศาลชั้นต้น กระทรวงยุติธรรม 
    ·      อนุกรรมการพัฒนามาตรฐานแรงงานระดับชาติ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กระทรวงแรงงาน 
    ·      ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ปัญหาแรงงาน วิเคราะห์กฎหมายแรงงาน วิเคราะห์การปฏิบัติตามนโยบายและกฎหมาย และเป็น  ผู้ค้นคว้า ศึกษาแนวทางของศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานมากกว่า 20,000 คดี 
    ·      ผู้เชี่ยวชาญการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บริหารธุรกิจ ระบบบริหารคุณภาพ 

กำหนดการ
(Schedule)

  • ห้องสัมมนา โรงแรม ดิ เอมเมอร์รัลด์ ถนนรัชดาภิเษก
    (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRTสถานีห้วยขวาง ประตูทางออกหมายเลข 3)
  • อังคาร ที 7 มีนาคม พ.ศ. 2560
    เวลา 09:00-16:00 น.

อัตราค่าธรรมเนียม
(Subscription)

  • สมาชิก
    10,700.00 บาท (รวมVAT แล้ว)
  • บุคคลทั่วไป
    15,700.00 บาท (รวมVAT แล้ว)

รายละเอียดหลักสูตร

     

     
    1.       สวัสดิการคืออะไร  ใช่สภาพการจ้าง หรือ สิทธิฝ่ายจัดการ กันแน่ กฎหมายอะไรมาตราใดบัญญัติไว้
     
    2.       สวัสดิการที่นายจ้างตั้งใจให้มากกว่ากฎหมาย  ทำไมกลายเป็น “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” จะมีวิธีใดที่ทำให้เป็น “สิทธิฝ่ายจัดการ” บ้าง จะได้แก้ไข ปรับปรุง เพิ่ม ลด ยกเลิกได้ตามสถานการณ์ นโยบายและความจำเป็นขององค์การ
     
    3.       “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” มีข้อดี และ ข้อเสีย อย่างไร? จะใช้ประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลและกฎหมายแรงงานได้อย่างไร
     
    4.       สวัสดิการที่จัดให้เป็น “ตัวเงิน” และ “ไม่ใช่ตัวเงิน” แต่ให้เป็นทรัพย์สิน สิ่งของ หรือสิทธิ ประโยชน์แบบอื่นจะทำได้แค่ไหน เพียงใดที่ไม่ถูกจำกัดสิทธิฝ่ายจัดการในการปรับปรุงเปลี่ยนได้ง่ายในอนาคต และไม่ทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
     
    5.       สวัสดิการที่เป็นตัวเงิน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าครองชีพ ค่ากะ ค่าอาหาร เบี้ยเลี้ยง เบี้ยขยัน ค่าความร้อน เงินประจำตำแหน่ง ค่าน้ำมันรถ ค่าคอมมิชชั่น เป็นต้น เป็นค่าจ้างหรือไม่ และจะมีวิธีการทำยังไงไม่ให้เป็นค่าจ้างได้อย่างแยบยล โดยสอดคล้องกับกฎหมาย
     
    6.       สำนักงานประกันสังคมสามารถยึด อายัดนำทรัพย์นายจ้างขายทอดตลาดได้อย่างไร หากส่งเงินสมทบไม่ครบ หรือนายจ้างไม่ยอมนำสวัสดิการที่เป็นตัวเงินไปรวมเป็นฐานค่าจ้างส่งสมทบพร้อมเงินเพิ่ม
     
    7.       การจัดสวัสดิการกรณีที่มีสหภาพแรงงาน แล้วบริษัทไปตกลงให้สวัสดิการใดแล้ว ต่อมาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ มีโทษจำคุกเพราะเหตุใด
     
    8.       การเขียนคู่มือสวัสดิการเป็นเรื่องๆ แยกสวัสดิการแต่ละประเภท ในลักษณะแนวปฏิบัติมีวิธีการ เทคนิคอย่างไรบ้างที่ไม่ให้ถูกกระทรวงแรงงานและศาลแรงงานตัดสินว่าเป็นค่าจ้าง
     
    9.       รูปแบบการเขียนที่ต้องมี เรื่อง ที่มา ข้อเสนอ (วัตถุประสงค์ เจตนารมณ์ หลักการ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข อัตราการจ่าย การระงับหรือยกเลิกการให้/จ่าย) วันที่มีผลใช้บังคับ และข้อสงวนสิทธิ์ เป็นอย่างไร
     
    10.     องค์ประกอบของการตีความให้สวัสดิการที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นเงิน เป็น “ค่าจ้าง” มีอะไรบ้าง หากทำเป็นสมการ ควรถอดสมการในองค์ประกอบใดทิ้งจึงปลอดภัยที่สุด มีข้อแนะนำ นัยซ่อนเร้นอย่างไรให้เป็นแนวทางและกุศโลบายบ้าง
     
    11.     เคล็ด (ไม่) ลับ ในการเขียนสวัสดิการที่เป็นเงินซึ่งจ่ายอยู่แล้วขณะนี้ ให้ “ไม่เป็นค่าจ้าง” ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้เทคนิค กลยุทธ์ขั้นสูงอย่างไร
     
    12.     เขียน แนวปฏิบัติด้านสวัสดิการเพื่อใช้เป็นคู่มือบริหารงานบุคคล แล้วเก็บไว้ใช้งานภายในองค์การเองมีประโยชน์อย่างไร นำมาใช้เมื่อใด จึงชนะคดีในที่สุด
     
    13.     หากมีสหภาพแรงงาน จะจัดทำ แนวปฏิบัติด้านสวัสดิการเพื่อใช้เป็นคู่มือบริหารงานบุคคล ยากหรือง่าย อย่างไร มีทางออกหรือไม่
     
    14.     การทำให้ แนวปฏิบัติด้านสวัสดิการเพื่อใช้เป็นคู่มือบริหารงานบุคคล มีผลย้อนหลังในการใช้บังคับกับลูกจ้าง ทำได้หรือไม่ อย่างไร
    15.     ท่านถาม อาจารย์ตอบ

    อบรม สัมมนา และพัฒนาบุคลากรยิ่งมาก ยิ่งเสียภาษีน้อยลง

    ค่าอบรมสัมมนาและการพัฒนาบุคลากร สามารถลงรายจ่ายได้ถึง 200% 

     

    ♦ หลักสูตรอบรมสัมมนาทุกหลักสูตร การเสวนา การศึกษาดูงาน ทัศนศึกษา การให้คำปรึกษา เอกสาร/บันทึก คลิปภาพ/เสียง สื่อการเรียนรู้/การสอน ผลผลิตจากทรัพย์สินทางปัญญา เนื้อหา รายละเอียด การออกแบบ และภาพประกอบเฉพาะเป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท กฤษฎ์  ดี-วี  จำกัด 

     

    © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่อนุญาตให้คัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด รวมถึงการนำไปดัดแปลง ปรับปรุง ต่อยอดด้วยกรรมวิธีใดๆ ก็ตาม ผู้กระทำการฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด