❝คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 คุ้มครองใคร ไปไกลแค่ไหน 18 เมษายน 2566 หลังสงกรานต์รู้กัน❞

อ่านผ่าน pdf ครบถ้วน สมบูรณ์ไม่มีแหว่งหรือตัดทอนโดยระบบ เนื่องจาก content นี้ยาวววว มาก เชิญได้ ที่นี่ /พคร ฉบับที่ 8.pdf

 

⚖ Content นี้ อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ เขียนเป็นฅนแรกหลังกฎหมายประกาศเมื่อวันที่ 19 มีนาคม2566 นั่นคือพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2566) เมื่อ WAC (Work At Corporate) สู่ WFH : Work from home เพื่อ QWL : Quality of Work Life กับ Right to Disconnect อย่าเอาเวลาส่วนตัวช้านไปนะ คืออะไร จะขยี้ให้ละเอียดแบบลึกสุดใจตามสไตล์ไม่มีใครเหมือนแน่นอน

 

§ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา (19 มีนาคม2566) เป็นต้นไป ฉะนั้นมีผล วันที่ 18 เมษายน 2566

 

| Writer : Aj.KRISZD U-THAIRATn | Content Creator

 

§ มาดูตัวบทกฎหมายก่อน โดยอาจารย์จะอธิบายไล่เลียงกันไปเลยนะครับ

มาตรา 23/1

 

(วรรค 1) ❝เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง และเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำงานของลูกจ้าง หรือในกรณีมีความจำเป็น นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้าง นำงานในทางการที่จ้างหรือที่ตกลงไว้กับนายจ้างซึ่งมีลักษณะหรือสภาพของงานที่ลูกจ้างสามารถ ปฏิบัติงานนอกสถานประกอบกิจการหรือนอกสำนักงานของนายจ้างได้โดยสะดวก ให้ลูกจ้างนำงาน ดังกล่าวไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือตกลงให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ ได้❞

 

 Extension [AJK]  อธิบายได้ตามนี้ครับ

 

❶ วิเคราะห์ด้วย วิพากษ์วิจารณ์ไปด้วยเลยกับมาตราใหม่มาตราเดียวนี้ ร่างมาน้อยไป ควรแก้ปรับ เพิ่มได้อีกมาก อาจารย์มองว่าเสียของจริงๆ แต่เอาล่ะ อาจารย์จะอธิบายให้ฟังไปตามที่บัญญัติไว้ก่อนก็แล้วกัน มาตรานี้สะท้อนเหตุแห่งการทำงานที่บ้าน ที่เราอาจเรียกได้มากมายและมักใช้เพื่ออ้างถึงการทำงานจากระยะไกลหรือจากบ้านของตนเอง วลีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ “ทำงานจากที่บ้าน” (WFH : Work from Home) "การสื่อสารทางไกล" (Telecommuting) "การทำงานจากระยะไกล" (Remote Work") หรือ"การทำงานจากระยะไกล" (Working Remotely) ยังมีอีกเยอะแยะ ไม่ว่าจะเรียกยังไงก็ตามมันคือคุณยังคงเป็นลูกจ้างของบริษัทนายจ้างอยู่ ยังคงต้องปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบข้อบังคับการทำงานของบริษัทในฐานะลูกจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน ไม่จะมีหนังสือ ทำด้วยวาจาหรือปริยายก็ช่าง แต่คุณสามารถทำงานจากที่บ้านได้ โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ หรือบริษัทเพราะบริษัทหรือหัวหน้าที่รับมอบอำนาจจากนายจ้างเขาอนุญาต เอาเป็นว่าชื่อเรียกเยอะแยะบานเบอะ อาจารย์ขอเรียกว่า WFH ให้เป็นตัวแทนของคำว่า “ปฏิบัติงานนอกสถานประกอบกิจการหรือนอกสำนักงานของนายจ้าง” ก็แล้วกันนะครับ

 

♡⃝⃜  ต่างไปจาก Work at Home หมายถึง ฐานปฏิบัติการทำงานตั้งแต่แรกมันอยู่ที่บ้านของคุณอยู่แล้วเป็นปกติธรรมดา คุณอาจมีอาชีพอิสระ ทำธุรกิจส่วนตัว ไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำของบริษัทใดบริษัทหนึ่งการทำงานที่บ้านในกรณีนี้ ถือว่าเป็นการทำงาน Work at Home คือทำงานที่บ้าน จึงมักใช้กับฟรีแลนซ์ไม่ได้มีงานประจำอย่างลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานยังไงล่ะ

 

❷ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับที่ 8 นี้ก็คือ โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ขอย่อว่า ❛พคร.❜) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควร แก้ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันให้ลูกจ้างสามารถนำงานไปทำนอกสถานประกอบกิจการหรือนอกสำนักงานของนายจ้างได้ แทน WAC (Work at Corporate) หรือทำงานในสถานประกอบกิจการหรือในสำนักงานของนายจ้าง เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำงาน (QWL : Quality of Work Life) ของลูกจ้างและเพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง ตลอดจนมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาจราจร ลดการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงนั่นแหละเหตุผล แต่เพิ่มค่าใช้จ่าย ค่า intetnet ค่าไฟ ค่าน้ำ ฯลฯ ให้ลูกจ้างแทน อันนี้ก็ต้องแลกกันกับความสะดวกสบายที่ได้อยู่บ้าน ก็ไปตกลงกันเองจะช่วยหรือไม่ช่วยยังไงก็ตามนั้น 

 

❸ เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง และเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำงานของลูกจ้าง (มัดรวมกัน) ประการแรก และ ในกรณีมีความจำเป็น (กว้างมากต้องหาเหตุผลมาซับพอร์ต) เป็นประการที่ 2 เช่น มีโรคระบาด มีจลาจล มีไอ้คลั่งปืนลั่นมีดจ้วง ฝุ่นกระจาย ย้ายโรงงาน ฯลฯ นั่นคือความจำเป็นครับ แต่ไม่ต้องถึงขนาด พิสูจน์แค่ว่ามันจำเป็นมีเหตุมีผลก็พอแล้ว

 

❹ แล้วจะ How to กันยังไงดีหละเจ้ามาตรานี้ อาจารย์กฤษฎ์เฉลยให้เข้าใจกัน ดังนี้

 

4.1 นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างนำงานในทางการที่จ้าง คือ ตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม JD (Job Description), JA (Job Assignment) , W/P (Work Procedures) ,W/I (Work Instructions) , SOP (Standard Operating Procedures) เป็นต้น นั่นหมายความว่างานตามเงื่อนไขอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั่นเอง เอาไปทำนอกสถานประกอบกิจการหรือนอกสำนักงานของนายจ้างได้ แต่อาจารย์มองว่ามันต้องอยู่ที่ลักษณะงานด้วยว่าเอาไปทำได้สะดวกจริงๆ เท่านั้นนะจ๊ะ จึงจะสมเจตนารมณ์กฎหมาย (ไม่ใช่เจตนารมณ์ของไอ้ฅนร่างกฎหมาย)

 

หรือ•••

 

4.2 งานที่ตกลงไว้กับนายจ้างซึ่งมีลักษณะหรือสภาพของงานที่ลูกจ้างสามารถปฏิบัติงานนอกสถานประกอบกิจการหรือนอกสำนักงานของนายจ้างได้โดยสะดวก เช่น งานอบรม งานบุคคล งานธุรการ งานจัดซื้อ งานให้คำปรึกษา งานแก้ปัญหาด้านคอมพิวเตอร์โดยรีโมทมาแก้ได้ งานบัญชี เป็นต้น ส่วนงานที่ไม่สามารถปฏิบัติงานนอกสถานประกอบกิจการหรือนอกสำนักงานของนายจ้างได้โดยสะดวกก็เช่น งานผลิต งานซ่อมบำรุง งานขับรถ งานบริการที่ต้องต้อนรับแขกเหรื่อผู้ฅนต่างๆ งานทำความสะอาด งานรักษาความปลอดภัย เป็นต้น

 

4.3 ถ้าเข้าข้อ 4.1 หรือไม่ก็ ข้อ 4.2 แล้ว จะรออะไรเล่า ก็ให้ลูกจ้างนำงานที่ว่านั้น โดยให้เอาไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง (ไม่ต้องถึงขนาดต้องเป็นกรรมสิทธิ์หรือเจ้าของก็ได้) ไม่ว่าบ้านตนเอง หรือบ้านเช่า โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม แฟลต บ้านเพื่อน บ้านกิ๊ก บ้านแฟนหรือที่ที่ใช้พักผ่อนกายาไว้ซุกหัวนอนแบบไหนไม่มีใครว่าได้หมด จะชั่วคราว ถาวร ค้างคืนมั๊ยก็ได้หมดเหมือนกันแหละ

 

4.4 หรือ / มีทางเลือกอีกทางคือไปตกลงกัน ให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ ได้หมด ไม่ว่าจะแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ หรือแพลตฟอร์ม (Platform) ใดๆ ตามสบายเลยครับ ซึ่งแน่นอนว่านายจ้างมักจะกำหนดครับ ทั้งนี้ventureharbour.com ได้นำเสนอแอปที่อาจช่วยให้เราสามารถทำงานจากบ้านได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดได้ เอามาฝากพร้อมบอกเล่าคร่างๆ ให้พอครับว่ามีเทคโนโลยีสารสนเทศอะไรมั่ง ถ้าเยอะไปขี้เกียจอ่านก็ให้ข้ามไป

 

╺╼╾ 1. Serene (เฉพาะอุปกรณ์ Mac) แอปฟรีที่มีให้บริการเฉพาะในคอมพิวเตอร์แมคนี้ ถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยตัดสิ่งที่อาจรบกวนสมาธิในการทำงานออกไปได้ ทำให้เราสามารถจดจ่ออยู่กับงาน และทำงานเสร็จเร็วยิ่งขึ้น อันนี้นายจ้างคงชอบ

 

╺╼╾ 2. Slack (มีให้บริการในทุกระบบทั้งในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ) มันคือแพลตฟอร์ในการส่งข้อความที่ออกแบบมาสำหรับการทำงานเป็นทีม และถือเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อผู้ที่ต้องทำงานนอกออฟฟิศ ระบบส่งข้อความจะถูกแบ่งออกเป็นชาแนลต่างๆ ซึ่งสมาชิกของทีมงานสามารถเข้าและออกได้ ดังนั้น จึงไม่มีใครที่จะได้รับข้อความหรือการแจ้งเตือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง สมาชิกของกลุ่มยังสามารถพูดคุยนอกหัวข้อหลัก ในกระทู้ที่แยกออกไป ซึ่งทำให้ข้อความดังกล่าวไม่สามารถเข้าไปรบกวนการสนทนา

 

╺╼╾ 3. Zoom (มีให้บริการในทุกระบบทั้งในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ) เราคุ้นเคยกันดี Zoom ให้บริการวิดีโอคอนเฟอเรนซ์อย่างเต็มรูปแบบ และเป็นเครื่องมือเพื่อการสื่อสารสำหรับธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่มีชื่อว่า Zoom Meetings & Chat ซึ่งมีทั้งบริการวิดีโอและการโทรด้วยเสียงZoom ช่วยทำให้การประชุมผ่านวิดีโอและการโทรด้วยเสียงสะดวกและง่ายดายยิ่งขึ้น โดยในแบบให้บริการฟรี สามารถรองรับการทำงานของทีมขนาดเล็กได้ ขณะที่แบบเสียเงินรายเดือน จะต้องมีผู้ที่อยู่ในฐานะ “โฮสต์” ทำหน้าที่จ่ายค่าบริการรายเดือน ซึ่งโฮสต์จะมีหน้าที่ในการเชิญสมาชิกเข้าร่วมในการประชุม ซึ่งอาจมีจำนวนสูงสุดถึง 100 ฅน แต่หากการประชุมยืดเยื้อนานกว่า 40 นาที โฮสต์อาจต้องอัปเกรดเป็นเวอร์ชั่นแบบจ่ายเงิน

 

╺╼╾ 4. Chrome Remote Desktop (iOS, แอนดรอยด์, ระบบเสริมที่ติดตั้งใน Google Chrome) Chrome Remote Desktop ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้อย่างปลอดภัยผ่านโทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ไม่ว่าจากที่ใดก็ตาม และเวลาใดก็ตาม โดยไม่ต้องกังวลถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของเราด้วยการพิมพ์ URL ลงในเว็บเบราเซอร์หรือโหลดแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ ทั้งระบบ iOS และแอนดรอยด์

 

╺╼╾ 5. Toggl (วินโดวส์, แมค, iOS, แอนดรอยด์, Chrome, Firefox) จะช่วยแสดงเวลาที่เราใช้ไปในระหว่างการทำงาน โดยซอฟท์แวร์ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับผู้ที่ทำงานทางไกลแต่เพียงอย่างเดียว ด้วยแนวคิดในการช่วยเหลือบรรดาฟรีแลนซ์ในการคำนวณเวลาทำงานในโปรเจ็คต์หนึ่งๆ เพื่อรับเงินตามระยะเวลาที่ใช้ไปทั้งหมดในการทำงาน กรณีเป็นฟรีแลนซ์ Toggl ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะข้อมูลที่ได้จะช่วยทำให้เราสามารถกำหนดเวลาในการทำงานโปรเจ็คต์ต่อไปได้อย่างแม่นยำหรือตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นพนักงานประจำที่ต้องทำงานจากบ้าน Toggl ก็สามารถช่วยเพิ่มผลิตผลในการทำงานได้ ด้วยการปักหมุดงานที่อาจต้องใช้เวลาในการทำมากกว่าปกติ นอกจากนั้นยังช่วยในการปรับปรุงการวางแผนโปรเจ็คต์ต่างๆ ด้วยการคำนวณเวลาว่างานแต่ละอย่างต้องใช้เวลาในการทำนานเท่าใด เรายังใช้แอปนี้ในการบันทึกเวลาว่า ปัญหาด้านผลิตภาพ ทำให้เราสูญเสียไปเท่าใดด้วย

 

╺╼╾ 6. Spark (แมค, iOS, แอนดรอยด์) อีเมลถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านผลิตภาพ Spark จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการจัดเก็บและจัดประเภทอีเมลจากทุกๆ แอคเคาต์โดยอัตโนมัติ มันยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดลำดับความสำคัญของอีเมลที่มีความสำคัญที่สุด และจะกรองเอาอีเมลที่ไม่สำคัญออกหรือให้แจ้งเตือนในภายหลัง และมันยังเต็มไปด้วยเครื่องมือสำหรับการทำงานอีกมากมาย ที่ช่วยให้สมาชิกในทีมสามารถทำงานในอีเมลเดียวกันได้จากทางไกลในแบบเรียลไทม์ ซึ่งหมายความว่า ทุกฅนที่ต้องการให้ข้อมูลในอีเมล สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยมีความแม่นยำถึง 100%

 

╺╼╾ 7. Google Drive (วินโดวส์, แมค, iOS, แอนดรอยด์, เว็บ) ไอ้เจ้าGoogle Drive ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องทำงานทางไกล เนื่องจากฟีเจอร์ต่างๆ ทำงานได้ดีกว่าไดรฟ์ในลักษณะเดียวกันของ Microsoft Drive และสามารถทำงานได้ดีแม้จะใช้ในคอมพิวเตอร์แมค และข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวของมันก็คือ ผู้ใช้จำเป็นต้องออนไลน์ในขณะที่ค้องใช้ Google Drive และ Google Docs มันยังช่วยให้ผู้ใช้และเพื่อนร่วมงานสามารถทำงานในเอกสารหรือโปรแกรมการคำนวณแบบสเปรดชีทเดียวกันได้ในแบบเรียลไทม์ โดยพบว่าไม่เกิดความล่าช้าและสมาชิกทุกฅนสามารถมองเห็นขณะมีการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งยังสามารถแสดงความเห็นในเอกสารแต่ละชิ้นได้อีก

 

╺╼╾ 8. Calendar (iOS, แอนดรอยด์, เว็บแอพพลิเคชั่น) แม้ Google Calendar จะเป็นปฏิทินดิจิทัลที่ทำงานได้อย่างเยี่ยมยอด แต่มันกลับไม่มีฟีเจอร์บางตัวที่จำเป็นต่อการทำงานในแบบทางไกล แต่Calendar สามารถเชื่อมต่อทุกปฏิทินของเราให้รวมอยู่ในอินเตอร์เฟซเดียว นอกเหนือจากการผนวกแอปปฏิทินทั้งหมดของเราเข้าไว้ด้วยกันแล้ว ฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ Calendar ยังช่วยจัดการการประชุมได้ด้วยเพราะแทนที่จะจะจัดการประชุมผ่านระบบวิดีโอหรือการประชุมที่มาพร้อมกับอีเมลจำนวนมาก มันช่วยให้ทุกฅนสามารถเลือกจองเวลาในการประชุมในช่วงเวลาที่สะดวก โดยที่จะไม่ไปรบกวนการประชุมหรือภาระหน้าที่ต่างๆ ที่ต้องทำอยู่แล้ว

 

╺╼╾ 9. Zapier (วินโดวส์, แมค, iOS, แอนดรอยด์, เว็บ) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราประหยัดเวลาในการทำงานที่มีความซ้ำซ้อน เพราะแทนที่ผู้ใช้ต้องต้องคอยสลับแอปเพื่อทำงานประเภทต่างๆ เราสามารถใช้Zapier ในการทำหน้าที่เหล่านั้นได้ ด้วยการเชื่อมต่อแอปที่เราใช้งานประจำ เพื่อให้สามารถแชร์ข้อมูลร่วมกันได้ โดย Zapier จะส่งข้อมูลระหว่างแอป เช่น จีเมล และกูเกิลไดรฟ์ ดังนั้น การแนบไฟล์ในอีเมลจะถูกอัปโหลดโดยอัตโนมัติ ผ่านการเข้าถึงในแบบทางไกล ทั้งนี้ ระบบควบคุมอัตโนมัติคือเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการเพิ่มผลิตภาพให้สูงสุด ซึ่ง Zapier อาจทำให้เราสามารถทำความเข้าใจเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนนี้ได้อย่างง่ายดาย

 

╺╼╾ 10. Daywise (แอนดรอยด์) ปัญหาหลักที่ผู้ทำงานจากบ้านระบุในผลการศึกษาของ buffer.com คือการปิดการทำงานต่างๆ หลังจากเสร็จงานแล้ว สำหรับบางฅน คือการปิดทุกแอปที่เกี่ยวข้องในการทำงาน โดย Daywise สามารถช่วยในการจัดตารางการทำงานของแต่ละแอปได้อย่างอัตโนมัติ เช่น เราสามารถเลือกปิดการแจ้งเตือนหลัง 18.00 น. จนกระทั่งกลับมาทำงานอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น ซึ่งช่ยทำให้เราไม่ต้องรับการแจ้งเตือนใดๆ ที่อาจลดผลิตภาพในการทำงาน และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน Daywise ทำให้เราสามารถควบคุมระบบการแจ้งเตือนของโทรศัพท์ได้ และช่วยป้องกันไม่ให้มันรบกวนในระหว่างที่เราทำงาน ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้งานเข้าไปรบกวนการใช้ชีวิตส่วนตัว แต่ข้อเสียของมันมีเพียงอย่างเดียวคือ มีให้บริการเฉพาะในโทรศัพท์แอนดรอยด์เท่านั้น

 

╺╼╾ 11. Google Hangouts เป็นโปรแกรมหนึ่งที่โด่งดัง เป็นที่รู้จักกันมาก ยิ่งฅนไทยน่าจะต้องเคยได้ยินคำว่า แฮงค์เอ้าท์ กันมาแล้วบ้าง มันเป็นโปรแกรมในการส่งข้อความ รวมถึง การประชุมแบบ video ที่ถูกสร้างโดย google และที่สำคัญ google ออกมายืนยันว่า ข้อมูลทุกอย่างในระบบมีความปลอดภัยสูงสุดไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสำคัญของแต่ละบริษัท และรวมไปถึงการพูดคุยและบทสนทนาจะถูกดูแลและรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี ผ่านโปรแกรม hangout นี้ และเครื่องมือ Work From Home ตัวนี้ ถือว่าเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงและประสานงานกับโปรแกรมอื่นๆได้อย่างดียิ่ง มีประสิทธิภาพมากที่สุดในบรรดาโปรแกรมช่วยให้การทำงานจากที่บ้านง่ายขึ้น มันยังอนุญาตให้คุณสามารถส่งข้อความแบบเป็นตัวหนังสือหรือข้อความเสียง รวมถึง การส่งวีดีโอและไฟล์ต่างๆผ่านการสนทนาได้อีกด้วยและ ด้วยความเป็นโปรแกรมของ google จึงสามารถส่งแผนที่และสามารถแชร์การถ่ายทอดสดผ่านกลุ่มของพนักงานและทีมงานของคุณได้ ที่น่าดึงดูดใจสำหรับฅนทำงาน คือ มันสามารถส่งข้อความที่เป็นแบบ อีโมจิ หรือสติ๊กเกอร์ ได้ สร้างความสนุกสนานในระหว่างการทำงานจากที่บ้านได้แน่นอน

 

╺╼╾ 12. Skype เป็นโปรแกรมในตำนานที่มีมายาวนานพอๆกับประวัติของ microsoft กันเลยทีเดียวโดยทั่วๆไปแล้ว ส่วนใหญ่ทีมงานหรือพนักงานมืออาชีพ มักรู้วิธีการใช้งานของโปรแกรม skype กันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแชทพูดคุย การส่งข้อความ มีการใช้งานโปรแกรมนี้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก ด้วยประสิทธิภาพของการสื่อสารของ application นี้พนักงานสามารถใช้งานได้ทั้งในตอนที่ทำงานในออฟฟิศ หรือ WORK FROM HOME มันยังมีฟังก์ชั่นการใช้งานอื่นๆเช่น การแชทด้วยวีดีโอ หรือ วีดีโอคอล สไกป์ (skype) นี้เป็นเทคโนโลยีที่ทำงานได้ดีและมีหลากหลายธุรกิจใช้งาน มีการทำงานแบบกลุ่ม ส่งข้อความแบบกลุ่ม สามารถประชุมแบบออนไลน์ได้ และที่สำคัญ skype ยังใช้งานได้ในหลายๆ platform ไม่ว่าจะเป็น windows android iOS mac หรือLinux ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะ

 

╺╼╾ 13. Workplace by facebook คือ การทำงานเป็นทีมบน platform ของ social media ชื่อดังอย่างfacebook นั่นเอง มันสามารถให้คุณบริหารจัดการการเชื่อมโยงระหว่างบุคลากร ทีมงานของคุณผ่านเครื่องมือที่คุ้นเคยอย่าง facebook นั่นเอง สามารถสร้างกลุ่มและอนุญาตให้ฅนทำงาน เพื่อนร่วมงานแบ่งปัน แชร์ประสบการณ์ หรือ แชร์เครื่องไม้เครื่องมือในการทำงาน เอกสารต่างๆกันได้อย่างง่ายดายแถมยังมีความสามารถโดดเด่นในเรื่องของความปลอดภัยในการเก็บข้อมูลของบริษัทของคุณด้วย อีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้ Workplace (เวิร์คเพลส) เป็นที่พูดถึงนั่น คือ การไลฟ์ (ถ่ายทอดสด) แบบการทำงานไม่ใช่ขายของเหมือนที่ฅนไทยส่วนใหญ่รู้จัก การถ่ายทอดสดออกไปให้กับทีมงานหรือพนักงานในบริษัทที่สามารถดูได้ในทุกที่ เช่น บนคอมพิวเตอร์ทั่วไป บนมือถือ ทำให้การทำงานจากที่บ้านหรือทำงานทางไกลง่ายขึ้นมาก มันยังมีฟังก์ชั่นการใช้งานอื่นๆ เช่น การโพสต์เรื่องราวต่างๆในการทำงาน การคุยกันเป็นกลุ่ม การโทรหากัน การส่งข้อความแจ้งเตือน การวางตารางงาน และ การใช้ video call

 

╺╼╾ 14. Asana โปรแกรมตัวช่วยในการทำงานจากที่บ้าน (working from home) ตัวนี้ ฅนไทยจะชอบอ่านชื่อมันอย่างง่ายๆ ว่า อาสนะ (คล้ายๆกับที่นั่งของพระสงฆ์) แต่มันมีความสามารถในด้านการทำงานแบบทางไกล ทำงานจากที่บ้านได้ดีมากๆ จนหลายฅนอาจจะคาดไม่ถึง เครื่องมือนี้จะช่วยให้คุณสร้างสรรค์ผลงาน แจกและแบ่งงานต่างๆได้อย่างง่ายดาย รวมถึง จัดการงานแต่ละอย่างในแต่ละproject พร้อมกับสื่อสารไปยังพนักงาน เก็บการสนทนาพูดคุย รวมถึง ความคืบหน้าของงานทั้งหมดอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีเรื่องของการใช้เชื่อมกับโปรแกรมพื้นที่เก็บไฟล์ เก็บเอกสาร เช่น google drive และ dropbox ด้วย มันช่วยให้คุณเฝ้าตรวจสอบงานแต่ละงาน ในแต่ละวันอีกด้วยคุณสามารถจัดตารางงานและมีการแจ้งเตือนได้แบบอัตโนมัติ

 

╺╼╾ 15. IDONETHIS เป็นโปรแกรมที่แม้ว่าจะไม่ได้ครอบคลุมการทำงานทั้งหมด เหมือนกับนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศก็ตาม แต่มันก็มีประโยชน์สูงในเรื่องของการบริหารจัดการงานที่เฉพาะเจาะจง และ มีการติดตามผลเป็นขั้นเป็นตอน ตามระยะการทำงาน เหมาะสำหรับทีมงานที่ต้องการดูพฤติกรรมการทำงานของแต่ละโปรเจคที่แบ่งกันไป Work From Home (ทำงานจากบ้าน) เครื่องมือนี้จะสามารถให้คุณช่วยเก็บรายละเอียดของการทำงานในแต่ละวัน ความก้าวหน้าของผลลัพธ์ในแต่ละวัน จากสมาชิกในทีมของคุณ รวมถึง ส่งเป็นรายงานประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละฅน ตรงไปยังกล่องจดหมายในตอนเช้าของทุกวันอีกด้วย จากความสามารถของมันที่สามารถเก็บบันทึกทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนในการทำงาน ทำให้มันมีประสิทธิภาพมากในการติดตามผลงานของแต่ละฅนในทีมที่ทำงานจากที่บ้าน

 

╺╼╾ 16. PukkaTeam มันเป็นโปรแกรมที่น่ารักที่เดียว มันสามารถใช้พูดคุยผ่านวีดีโอซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงานที่จำเป็นต้องทำงานจากที่บ้านได้อย่างดียิ่ง มันมีระบบที่น่าสนใจ คือ การจับภาพหน้าจอของแต่ละฅนแบบอัตโนมัติ และ สามารถสื่อสารสร้างความใกล้ชิดกันในทีมงานของคุณ มันอาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่ทำงานในรูปแบบบริษัทจริงจังมากนัก แต่การทำงานของมันก็ค่อนข้างจะสมบูรณ์แบบ ในเรื่องของการส่งข้อความและการสื่อสารกันระหว่างฅนทำงานทั่วๆไป มีหลายบริษัทที่ใช้โปรแกรมตัวนี้ในการดูแลและจัดการงานของพนักงานแต่ละฅน

 

╺╼╾ 17. Scoro ถ้าจะ WORK FROM HOME และกำลังมองหาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมซักตัว ในการบริหารงานแบบออนไลน์ Scoro ถือว่าเป็นโปรแกรมที่เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ทำงานจากที่บ้าน  ... (ยังมีต่อ)

 

ขออภัยด้วยข้อจำกัดของ web ไม่อาจพิมพ์ต่อให้ครบถ้วนได้ อาจารย์กฤษฎ์ขอแนะนำตัวเต็ม ละเอียดยิบ ขยี้ ลึกสุดใจ (รวม 42 หน้า อัดแน่น)

อ่านผ่าน pdf ครบถ้วน สมบูรณ์ไม่มีแหว่งหรือตัดทอนโดยระบบ เนื่องจาก content นี้ยาวววว มาก เชิญได้ ที่นี่ /พคร ฉบับที่ 8.pdf