KDV ร่วมกับ
อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
ยินดีให้บริการอาสาทำให้ ฟรีๆ

เพียงนำเรื่องราวของลูกจ้างมาบอกเล่าให้อาจารย์กฤษฎ์ฟัง พร้อมหลักฐานต่างๆ ที่พอมี มาหาเรา และนำสลิปเงินเดือนเพื่อทวนสอบความช่วยเหลือ ไม่ยุ่งยาก รับรอง ช่วยจริง เต็มร้อย เมื่อขึ้นทะเบียนและได้มอบอำนาจให้เราดำเนินการให้ในคดีแรงงาน หรือเจรจากับนายจ้าง หรือให้ดำเนินการใดๆ ที่ลูกจ้างถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ได้รับค่าจ้างเงินเดือน OT รายได้ตอบแทนอื่นๆ ไม่ครบถ้วน ถูกกลั่นแกล้ง ผิดสัญญาจ้าง เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ถูกกระทำละเมิด ฯลฯ

มาระบาย มาบอกกล่าว เรายินดีช่วยฟรีๆ ไม่คิดเงิน เพื่อสร้างสรรค์ความเป็นธรรมในสังคมการจ้างแรงงานยุคมุ่งสู่ THAILAND 4.0 โมเดลใหม่ที่สังคมการจ้างแรงงานและลูกจ้างต้องไม่ถูกเอาเปรียบ ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โมเดล “ประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “ประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่โมเดลปัจจุบัน “ประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนักแต่ทว่า ภายใต้โมเดล “ประเทศไทย 3.0” ที่เป็นอยู่กันตอนนี้ต้องเผชิญกับดักสำคัญที่ไม่อาจนำพาประเทศพัฒนาไปมากกว่านี้ จึงเป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องสร้างโมเดลใหม่ขึ้นมาเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศและนำพาประชาชนทั้งประเทศไปสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” ให้ได้ภายใต้ 3-5 ปีนี้ ซึ่งแน่นอนที่สุดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ ในปัจจุบัน เรายังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก” นั่นหมายถึงการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติสำคัญ คือ

1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”
2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
3.เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
 
“ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ
1.เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
3.เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services
4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง
 
“ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ด้วยการแปลง “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ “ความหลากหลายเชิงชีวภาพ” และ “ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม” ให้เป็น “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน”
 

แน่นอนการจ้างงาน มนุษย์เงินเดือนเป็นรากฐานสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านนี้ด้วย การทำตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด ต้องถอดบทเรียนแย่ๆ ทำร้าย ทำลายสัญญา ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของผู้ประกอบกิจการ นายจ้างให้หมดสิ้นไป ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการที่ดีต้องหลุดพ้นวังวนอุบาทว์กดขี่แรงงาน จ้างหนักจ่ายถูก หลบเลี่ยงกฎหมายเสียที คิดให้มี “นวัตกรรม” ซะที

เมื่อกระบวนการ HRM  HRD ต้องการพัฒนาเน้นให้คนดี คนเก่ง คนมีความสุขก็ต้องตอบแทนการจ้างงานที่ตรงไปตรงมา ไม่เอาเปรียบ พัฒนาศักยภาพคนทำงานให้มีการยกระดับฝีมือแรงงาน ทักษะ ความสามารถในการแข่งขันให้ได้ ไม่เพียงเพื่อจ้างให้ทำงานโดยไม่สนใจคุณภาพชีวิตการทำงาน ลูกจ้างที่ดีก็ต้องทำงานเต็มที่ตามสัญญาจ้างด้วย เป็นหลักพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน

ลูกจ้างที่ดี น่ารัก ถูกรังแก มาที่นี่ได้เลย เรายินดีให้คำแนะนำ ช่วยเหลือเต็มที่ รวมถึงองค์กรลูกจ้างอย่างสหภาพแรงงาน หากถูกรังแก มาร้องทุกข์ต่อเรา เรายินดีดำเนินการแทนท่าน 

เราจะไม่ประนีประนอมกับนายจ้างที่ไม่ดี ฝ่าฝืนกฎหมาย ไร้คุณธรรมและธรรมาภิบาลอย่างเด็ดขาด เราให้สัญญา.