❛ฐ❜ | ❝ฐานความยินยอม ❞ (Consent : Cs) ❞ V ❛ฐ❜ | ❝ฐานพันธะสัญญา (Contract : Ct)❞ : ส่วนที่ 1

Sᴬᵀ²⁶ Nᵒᵛᵉᵐᵇᵉʳ ²⁵⁶⁵  |  ที่มา : จาก f page อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ นักวิทย์ศิลป์

❱ ✿•˖* เมื่อใดต้องใช้ฐานสัญญา เมื่อใดต้องใช้ฐานยินยอมใน PDPAᵀᴴᴬᴵ หรือมันใช้ปนๆ กันได้ ไม่ต้องแคร์ เรื่องที่แม้กระทั่งนักกฎหมาย (อ้างว่า) เก่งๆ ยังโคตรมั่วฉิบ (ชิบ) หายเลย (ขอทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน)

 

✥ ❛ฐ❜ | ❝ฐานความยินยอม ❞ (Consent : Cs) ❞  V  ❛ฐ❜ | ❝ฐานพันธะสัญญา (Contract : Ct)❞

 

꧂ ตั้งใจจะ live ให้ละเอียดๆ ขยี้ให้แหลกลาญกันเลยทีเดียว แต่ขอโปรยเพื่อเรียกน้ำย่อยสำหรับปู Concept กันก่อนจะเอาจริงกันอีกที

 

〄 ความยินยอมต้องไม่เกี่ยวกับสัญญาหลัก จึงขอความยินยอมได้เป็นการเพิ่มเติมจากสัญญาหลัก อาจารย์ย้ำว่า ❛หลัก❜ (Core / Main)

 

♡̆̈ ถ้าสัญญาหลักและข้อตกลงที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับสัญญาหลักมันรอบคอบดีแล้ว ก็ไม่ต้องขอความยินยอมซ้ำซากอีก เพราะถ้าความยินยอมไป มันดันไปขัดแย้งกับสัญญานี่ ฉิบ (ชิบ) หายของแท้ ทำเอาสัญญาที่เซ็นๆ ไปนั้น กลายเป็นหมันไปได้ ทำนอง ❛เขียนด้วยสัญญา ลบด้วยความยินยอม❜ อย่างนี้ก็ได้หรา… บ้าฉิบ (ชิบ) หาย ขออนุญาตสบถถี่ๆ เพราะพูดไม่เข้าหูมันเลยไม่เข้าหัว ที่ปรึกษา PDPAᵀᴴᴬᴵ กว่า 90% โคตรมั่วไม่เต่าบินเลยเมิง (ᴬᴶᴷเต่าบินทำทุกอย่างตามแต่กดสั่งได้ดั่งใจเหมือนเข้าใจกันว่าเอาฅนไปอยู่ในตู้ AI ไม่มั่ว ได้กินตามสั่ง ผิดกับนักกฎหมาย ที่ปรึกษาธาตุไฟแตก มั่ว❗️)

ф อาจารย์มองว่ามันคือ Pain Point  ขององค์กร องค์การที่ขอรับคำปรึกษา เพื่อลบหรือบรรเทาจุด (ความไม่รู้) ที่เจ็บปวดที่องค์กร องค์การ ᴅᴄ ซึ่งอยากทำ ᴘᴅᴘᴀ ให้สำเร็จ ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้ไม่เจอร้อง ฟ้องแล้วจ่ายหนักๆ ตามกฎหมาย ฉะนั้นที่ปรึกษาที่ดีต้องรู้จริงเพื่อไม่ให้เป็น Pain Point ที่ตัวเองซะเอง เพราะจะสร้างปัญหาวิกฤติศรัทธาเมื่อความจริงมันโผล่ว่าไม่ใช่ของแท้ ซึ่งในด้านธุรกิจ ด้านการเงิน หรืออื่นๆ มองว่า Pain Point   คือ ปัญหา หรือ Bug ที่ลูกค้าเจอและต้องการ Gain Point คือ การสร้างคุณค่าหรือประโยชน์ตอบแทนให้รู้สึกว่าจ้างไปให้คำปรึกษาแล้ว องค์กรพัฒนาได้จริง ไอ้ที่ให้คำปรึกษามันถูกต้องจริงๆ ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้จริงๆ นั่นแหละ ไม่อยากให้ ɴᴏ ᴘᴀɪɴ ɴᴏ ɢᴀɪɴ ซึ่งหมายถึง ถ้าไม่เจ็บก็ไม่มีวันเติบโตหรือสร้างคุณค่า ที่ต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวดอยู่เสมอ แต่ถ้าเราไม่จำเป็นต้องเจ็บเลยล่ะมันจะดีกว่าป่าว แล้วทำไมจะต้องเจ็บถึงจะรู้จักโตรู้คุณค่าได้วะ อันนี้งงจิต ถ้า ɴᴏ ᴘᴀɪɴ (No Bug) ʏᴏᴜ ɢᴀɪɴ ไม่ปวดก็ได้เปรียบป่ะวะ เป็นแนวความคิดต่าง ที่กล้าแหวกกฎออกจากความคิดเดิมๆ ที่อาจารย์อยากให้เหล่าที่ปรึกษาให้คำปรึกษาที่ถูกต้องจริงๆ บางที ᴅᴄ มันเจอ ᴘᴀɪɴ จากกฎหมายออกมาใช้แรกๆ พอๆ กับที่ปรึกษาแหละ งั้นมึงอย่ามั่วไง ส่งมอบสิ่งถูกในการให้คำปรึกษาทุกครั้ง ก็เข้าโหมด ɴᴏ ᴘᴀɪɴ ʏᴏᴜ ɢᴀɪɴ แล้ว ได้เงินค่าให้คำปรึกษาแล้วยังได้บุญอีก เออ❗️ไม่ดีตรงไหน ถูกป่ะ

♡⃝⃜⸝ หลัก ᴠᴏʟᴇɴᴛɪ ​ɴᴏɴ​ ғɪᴛ ​ɪɴᴊᴜʀɪᴀ that of which a man consents cannot be considered injury. ความยินยอมนั้น ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ทำให้เป็นละเมิด อาจารย์รู้นะว่าคุณใช้ความยินยอมเปลืองและพร่ำเพรื่อเพราะหวังบล็อกสัญญาที่ทำออกมาไม่ว่าห่วยหรือเทพให้ได้ประโยชน์กะตัวคุณ ทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายมันฟ้องคุณละเมิดไม่ได้ ไม่ใช่ไม่รู้ แต่ทำแล้วไร้ผลจะดันทุรังทำ เพื่อ…❓

ꪔ̤̮ ครับ Consent Principle = ᴠᴏʟᴇɴᴛɪ ​ɴᴏɴ​ ғɪᴛ ​ɪɴᴊᴜʀɪᴀ (สุภาษิตกฎหมายโรมัน) คือ หลักความยินยอมข้างต้น โดยมีลักษณะทางกฎหมายของหลักความยินยอม ประกอบด้วย

 

❶ ผู้ให้ความยินยอมซึ่งเป็นผู้ได้รับความเสียหาย (ถ้าตาม PDPAᵀᴴᴬᴵ ก็รับรู้กันนะครับว่า คือ DS) ต้องเป็นผู้มีความสามารถในการให้ความยินยอม คือ คุณต้องเข้าใจหยั่งรู้ถึงการกระทํานั้น (Raisonable) และรู้คุณค่าของการกระทําว่าดีหรือไม่ดี เข้าใจถึงธรรมชาติของการกระทําและผลที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทํานั้นได้ และก็ต้องรู้ถึงคุณค่าของการกระทํานั้นๆ จากประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งจะต้องมีความเป็นผู้ใหญ่พอสมควร (Maturity) ด้วย

❷ วิธีการให้ความยินยอม กฎหมายมิได้กําหนดแบบเอาไว้ จึงอาจให้ความยินยอมกันโดยแจ้งชัดหรือโดยปริยาย และการนิ่งก็ได้ครับ ถือว่าเป็นการให้ความยินยอมได้ ถ้าตามพฤติการณ์ทําให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการให้ความยินยอมก็ตามนั้นแหละ

 

❸ เงื่อนไขความสมบูรณ์ของความยินยอม พิจารณาจาก (1) ระยะเวลาการให้ความยินยอมจะต้องมีอยู่ก่อนหรืออย่างน้อยต้องมีในขณะกระทําและมีอยู่ตลอดการกระทํา (2) ความยินยอมต้องให้แก่ผู้กระทําโดยตรง (3) การให้ความยินยอมต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยความสมัครใจ ปราศจากการทำกลฉ้อฉล หลอกลวง ข่มขู่ หรือสําคัญผิด (4) การให้ความยินยอมต่อสิ่งหนึ่งไม่หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่มีเพิ่มหรือแตกต่างไปจากที่ผู้เสียหายให้ความยินยอมหรือโดยผู้เสียหายไม่ทราบถึง (5) ความยินยอมต้องไม่มีเงื่อนไข (6) ผู้กระทําต้องทราบถึงความยินยอมและได้กระทําด้วยความยินยอมในความผิดที่อ้างความยินยอมได้ ในกรณีที่ผู้กระทําไม่ทราบความยินยอมของผู้เสียหายและได้กระทําความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ ผู้กระทําไม่อาจอ้างความยินยอมที่ตนไม่ทราบเป็นข้ออ้างได้

 

❹ สำหรับผลของความยินยอมนั้น เมื่อการให้ความยินยอมได้กระทําโดยผู้ให้ความยินยอมที่ถูกต้องตามกฎหมาย และใช้วิธีการให้ความยินยอมตลอดจนเงื่อนไขความสมบูรณ์ของความยินยอมถูกต้องครบถ้วนตามหลักความยินยอมที่อาจารย์ได้กล่าวในตอนต้นแล้ว ย่อมทําให้ผลของความยินยอมเป็นไปโดยสมบูรณ์ ซึ่งผู้กระทําสามารถอ้างหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดได้

 

❺ ข้อยกเว้นหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด อาจมีในกรณีที่เกิดการประทุษกรรมโดยไม่ได้รับความยินยอม แต่ผู้กระทําไม่ต้องรับผิด ได้แก่

 

• 5.1 กรณีมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นอย่างแท้จริงและแจ้งชัด จําเป็นต้องกระทําก่อนได้รับความยินยอม เช่น การจับฅน (DS) ที่จะฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากที่สูงด้วยการมัดมือมัดเท้าขังไว้ในห้อง ไม่งั้นก็จะหาทางฆ่าตัวตายอีก

 

• 5.2 ในกรณีเช่นนั้นวิญญูชนย่อมให้ความยินยอม เช่น มีฅนโยนระเบิดเข้ามาและระเบิดกําลังจะระเบิดจึงผลักฅนซึ่งอยู่ข้างๆ ให้ล้มเพื่อหลบแรงระเบิด และการผลักทําให้ผู้นั้นได้รับบาดเจ็บ ไม่ต้องรับผิด

 

• 5.3 ผู้กระทําไม่รู้หรือไม่มีเหตุควรรู้ว่าผู้ถูกกระทําจะไม่ให้ความยินยอม ถ้ามีโอกาสถามบุคคลนั้น เช่น แพทย์นําฅนเจ็บซึ่งสลบจากอุบัติเหตุเข้าทําการผ่าตัดเพื่อช่วยชีวิต ก็ไม่ต้องขอความยินยอมอ้างใช้ฐานประโยชน์ที่สำคัญแห่งชีวิต (Vital Interests : Vi) มาตรา 26 วรรค 1 (1) ❝เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคลซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม❞

 

꒰꒱ ในทางอาญา ความยินยอมต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ก็เพราะว่าในทางอาญา มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อยเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของบุคคลในสังคมนั่นเอง ฉะนั้นคำพิพากษาในคดีอาญาเรื่องการประลองของขลัง ศาลฎีกาชี้ว่าเป็นเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ต่อให้ยินยอมก็ไลฟ์บอยครับ (ᴬᴶᴷสำนวนคนโบราณ อยู่ไปก็ไลฟ์บอย หมายถึง อยู่ต่อไปก็ไม่มีประโยชน์ อยู่ไปก็ไม่มีความหมาย ไม่มีค่าหรือความสำคัญ อะไรทำนองนี้ สมัยก่อนจะมีสบู่ยี่ห้อหนึ่งชื่อไลฟ์บอย (Lifebuoy) ส่วนคำเปรียบเปรย อยู่ไปก็ไลฟ์บอย จะเกี่ยวอะไรกับสบู่ยี่ห้อดังกล่าวหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่อง เป็นมุกดักแก่อ่ะนะ)

 

ꕥ ในทางแพ่ง คือทางละเมิด ถือว่าเป็นเรื่องของปัจเจกชน แม้จะเป็นเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่หากเป็นเรื่องของเอกชนต่อเอกชน รัฐไม่ควรเสือกหรือเข้าไปแทรกแซงยุ่งเกี่ยว

 

ꕥ คำพิพากษาในคดีละเมิด ศาลชี้ว่าสามารถให้ความยินยอมได้ แม้จะเป็นเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะฉะนั้นในกรณีเดียวกันข้างต้น การท้ากันประลองของขลังไม่เป็นละเมิด ละเมิดเป็นเรื่องของการเยียวยาค่าเสียหาย ฉะนั้น ถ้าผู้เสียหายไม่ติดใจที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนก็เป็นเรื่องความยินยอมของผู้เสียหายครับ แยกให้ออกหละ

 

°˖✧ การที่ศาลแพ่งและศาลอาญายอมรับเอาหลักความยินยอมมาใช้ ก็แสดงว่าศาลยอมรับหลักกฎหมายทั่วไป นั่นก็คือในกฎหมายไทยความยินยอมในทางอาญาถือว่าเป็นหลักทั่วไป และเป็นเหตุยกเว้นความรับผิดได้ในทางละเมิดเหมือนกัน รวมทั้ง PDPAᵀᴴᴬᴵ ด้วยครับ ไม่ต่างกัน

 

✼ ความแตกต่างจึงอยู่ที่ความยินยอมในทางอาญานั้น ต้องไม่ขัดต่อความสงบฯ แต่ในทางละเมิดแม้จะขัดต่อความสงบฯ ก็สามารถยินยอมกันได้

 

⚖︎ คำพิพากษาฎีกาที่ 1403/2507 หลักความยินยอมสามารถนำมาใช้ในกฎหมายอาญาได้ เหมือนอย่างหลักกฎหมายทั่วไป

 

ความ​ยินยอม​คือ​ การแ​สดงเ​จตนาข​องผู้เสียหายหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้เสียหาย (แทนว่าเป็น ᴰˢ Data Subject | เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล) ที่จะเป็นการยินยอมให้ผู้อื่น (แทนว่าเป็น ᴰᶜ Data Controller | ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล) มาก่อให้เกิดความ​เสีย​หาย​แก่​ชีวิต​ ร่างกาย​อนามัย​ เสรีภาพ​ ทรัพย์สิน​หรือ​สิทธิ​อื่น​ใด​ (แทนว่าเป็น ᴾᴰ Personal Data| ข้อมูลส่วนบุคคล) ของ​ผู้​เสีย​หายนั่นเอง

 

❃บทบาทของหลักความยินยอมในทาง ❛ละเมิด❜ นั้น อยากบอกพวกเราครับว่าเป็นการกระทําโดยรับความยินยอมของผู้เสียหายจะไม่ถือเป็นละเมิดก็ต่อเมื่อถ้าผู้เสียหายยอมให้กระทําหรือยอมต่อการกระทํา หรือเข้าเสี่ยงรับความเสียหายซึ่งถือได้ว่าเป็นการให้ความยินยอมย่อมทําให้การกระทํานั้นไม่มีทางเป็นละเมิด ไม่ว่าผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายจากการกระทําอย่างใด และได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างอื่นอย่างใดมากน้อยเพียงใดก็ตาม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ครับ

 

⓵ ผู้เสียหายยินยอมให้กระทําหรือยอมต่อการกระทํา หรือการเสี่ยงเข้ารับความเสียหายอันถือได้ว่าเป็นการยินยอมรับผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ทําให้การกระทํานั้นไม่เป็นละเมิด

 

⓶ การให้ความยินยอมจะต้องให้ก่อนหรือขณะกระทําผิด การให้ก่อนกระทําผิดไม่ว่าล่วงหน้านาน เท่าใด ตราบใดที่ยังไม่มีการถอนการให้ความยินยอมย่อมถือว่ายังมีความยินยอมอยู่ แต่ผู้ให้ความยินยอม จะถอนเสียเมื่อใดก็ได้

 

⓷ การให้ความยินยอมต้องให้แก่ผู้กระทําโดยตรง ยกเว้นบางกรณีอาจให้โดยเจาะจงหรือไม่ก็ได้ เช่น ยินยอมให้แพทย์ทําการผ่าตัดโดยไม่เจาะจงตัวแพทย์ผู้กระทํา

 

⓸ การให้ความยินยอมต้องโดยสมัครใจปราศจากการทําฉ้อฉล หลอกลวง ข่มขู่หรือสําคัญผิด

 

⓹ การให้ความยินยอมเมื่อผู้กระทําเข้าใจในผลแห่งความยินยอมแล้ว แม้จะขัดต่อสํานึกในศีลธรรมอันดี ไม่เป็นละเมิดในทางแพ่ง เว้นแต่เป็นการกระทําความผิดอาญาบางประเภทซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะได้รับความยินยอมของผู้ถูกกระทําหรือไม่ก็เป็นความผิดอยู่ดี

 

⓺ การให้ความยินยอมย่อมต้องมีขอบเขตจํากัด ถ้าผู้กระทําได้ทํานอกเหนือความยินยอมหรือกระทําโดยประมาทเลินเล่อ จะต้องรับผิดฐานละเมิดครับ

 

⓻ ความยินยอมอาจถอนได้ก่อนมีการกระทํา เช่น โจทก์และจําเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องว่าวิวาท ทําร้ายกัน ศาลพิพากษาลงโทษทั้งสองคน แล้วต่างมาฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายซึ่งกันและกัน เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์และจําเลยสมัครใจเข้ารับการเสี่ยงภัยเอง ไม่เป็นการละเมิด โจทก์และจําเลยไม่มีอํานาจฟ้องและฟ้องแย้ง เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเอง (ค่าพิพากษาศาลฎีกาที่  2672/2528)

 

⓼ มาตรา 823 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันกําหนดหลักการว่า ถึงแม้มีความยินยอมของผู้เสียหาย ผู้กระทําอาจรับผิดฐานละเมิดได้ ถ้าเป็นการกระทําที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด อันมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องผู้อื่น ซึ่งกฎหมายไทยได้นําหลักดังกล่าวมาบัญญัติไว้ตามมาตรา 9 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ความว่า ❝ความตกลงหรือความยินยอมของ ผู้เสียหายสําหรับการกระทําที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนํามาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้❞

 

˚ ༘♡ “ความยินยอม” ฐานมักง่ายในในความพร่ำเพรื่อของฅน PDPAᵀᴴᴬᴵ ไร้สมองในการนำไป (แอบ) อ้างประมวลผล | อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์เคยเขียนเรื่องนี้ แต่หาสำเหนียกไม่ โดยเฉพาะนักกฎหมาย โค้ช ที่ปรึกษาจอมอวดดีทั้งหลายแหล่

 

 มาซ้ำอีกรอบ ไม่จำเป็นก็อย่าอ้าง ❛ฐ❜ | ❝ ความยินยอม ❞ (Consent) อย่างพร่ำเพรื่อ เหมือนไร้สมอง ขาดจินตนาการ ส่วนคิดบกพร่องถูกทำลายอย่างนั้นแหละ ทำไมนั่นเหรอ เรามาค้นหาเหตุผล เผื่อทำให้เรียกสติจากอาการสิ้นคิดให้กู่กลับมาได้มั่ง

 

യ เหตุผลที่ 1 : ขี้เกียจ มักง่าย ไม่เฉลียว - DC หรือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะกระทำการ กร.-ช.-ป. (เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย) ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนหรือในขณะน้ัน ตรงนี้แหละที่ทำให้ยอมสยบ สงบ นิ่ง จนสมองไม่ทันคิดต่ออย่างน่าอนาถ เหมือนอ่านไม่หมดประโยค เกิดขึ้นบ่อยกับฅนประเภทอ่านหนังสือไม่กี่บรรทัด อันนี้น่าสงสารและสมเพชครับ จึงทำให้คิดว่าถ้ากูหาเหตุผลมาสนับสนุนไม่ได้หรือเพราะความไม่รู้หรือเพราะความอวดรู้หรือเพราะเหตุผลห่าเหวอะไรก็ช่างเถอะ กูก็จะต้องขอใช้ ❛ฐ❜ ความยินยอมนี้ล่ะโว๊ย ซึ่งมันไม่ใช่ไง คุณตกลุมพรางและกับดักมรณะของกฎหมายในมาตรานี้แล้วไงครับ

 

യ ทั้งๆ ที่อ่านให้ครบประโยคก่อนไม่ดีกว่าเร๊อะที่ว่า เว้นแต่บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติน้ีหรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้กระทำได้ (พคข.2562 PDPAᵀᴴᴬᴵมาตรา 19 วรรค 1) คือ เอาฐาน ❝ ความยินยอมไปทำหมัน❞ ซะเลยดีกว่า เห็นไหมว่ายังมีด่านที่จะหักดิบไม่ต้องมาใช้ความยินยอมกันถึง 2 เงื่อนไขคือ ถ้าไม่ใช่กฎหมาย PDPAᵀᴴᴬᴵ นี้ ก็ต้องไปดูกฎหมายอื่นยังไงเล่า จะเห็นได้เลยว่ามันไม่ได้ผูกขาดในการไปค้นไปหาข้อยกเว้นที่ไม่ต้องใช้ฐานความยินยอมเฉพาะตามกฏหมาย PDPAᵀᴴᴬᴵ นี้เท่านั้นนี่หว่า ยังมีอีกหลายกฎหมายเยอะแยะแต่เพราะขี้เกียจ เพราะโง่ ไม่รู้เรื่อง เพราะไปฟังคนอื่นเค้าบอก แล้วก็ไปเชื่อผิดๆ อันตรายจริงๆ

 

യ เหตุผลที่ 2 : เที่ยวหาหลุมหลบภัยที่มีระเบิด - เคยคิดม๊ะว่า ถ้าเรานึกอะไรไม่ออกหรือเรามั่วซั่วตามฅนนั้นตามฅนนี้แล้วใช้ฐานความยินยอมมันจะเกิดอะไรขึ้นบ้างที่จะตามมา บางทีเราคิดเองใช่มั๊ยว่า ❛ฐ❜ | ❝ ความยินยอม ❞ (Consent) มันปลอดภัยดีออก มันเหมือนหลุมหลบภัยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมันยอมเราแล้วนี่หว่า มันจะทำอะไรเราได้ เออ❗️เสียสติไปกันใหญ่หรือว่าโง่กันแน่ครับเพราะกรรมวิธีในการทำ ❝ความยินยอม❞ (Consent)  มันยุ่งยากชิบหายเลย แถมเสี่ยง ต้องลุ้นว่าเมื่อไหร่จะถอนความยินยอมดี เพราะว่า…เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเสียเมื่อใดก็ได้ โดยจะต้องถอนความยินยอมได้ง่าย (นี่ไง ถ้าขืนใช้ไม่ลืมหูลืมตาจะซวยได้ตอนมาแกล้งถอนความยินยอมหรือนึกไม่พอใจจะยอมกันอีกต่อไปแล้ว) มันต้องถอนกันได้ง่ายๆ เช่นเดียวกับการให้ความยินยอม เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิในการถอนความยินยอมโดยกฎหมาย (ใช้ฐานหน้าที่ผูกมัดตามกฎหมาย Legal Obligation : Lo) หรือ สัญญาที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ใช้ ฐานพันธะสัญญา Contract : Ct) ทั้งนี้ การถอนความยินยอมย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบตามทรากำหนดไว้ด้วยหละ (พคข.2562 PDPAᵀᴴᴬᴵ มาตรา 19 วรรค 5) นี่ไงยอมแล้วถอนได้ ระวังไว้เถอะ ไม่ได้ปลอดภัยนะเนี่ย

 

◎ การขอความยินยอมคุณต้องทำโดยชัดแจ้ง จะทำกันเป็นหนังสือหรือจะทำโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้หมด เว้นแต่ว่า ❛โดยสภาพไม่อาจขอความยินยอมด้วยวิธีการดังกล่าวได้ ❜ (พคข.2562 PDPAᵀᴴᴬᴵ มาตรา 19 วรรค 2) เช่น ขออนุญาตถ่ายรูปคู่กัน หรือ ถ่ายรูปผู้ฅนในร้านอาหารเพื่อประชาสัมพันธ์ร้าน (แค่พยักหน้า พูดตอบ ยิ้ม ยกแก้วชูขึ้น) , ขอตรวจบัตรประจำตัวประชาชนก่อนโดยสาร (แค่ยื่นให้อย่างเต็มใจ พูดตอบ) , ขานชื่อสกุลเข้าคิว (แค่ชูมือขึ้น ขานรับ) , ขอชื่อไว้เขียนบนแก้วเครื่องดื่ม (แค่บอกชื่อไปก็พอ) , ขอทราบ…(ข้อมูลส่วนตัว).. โดยเจ้าตัวยินดีบอกหรือให้พูดถึงได้ (พยักหน้า ปากบอก) , เอาเงินซื้อข้อมูลส่วนบุคคล (การขายถือว่าให้ความยินยอม) เป็นต้น ถ้ามันเข้าข้อยกเว้น ก็อย่าได้บ้าบอไปทำเป็นหนังสือหรือขอให้ไปคีย์ยอมในคอมพิวเตอร์ก่อน ก็ต้องระวังว่า ❛โดยสภาพไม่อาจขอความยินยอมด้วยวิธีการดังกล่าวได้ ❜ หมายถึง เหตุการณ์ ปัจจัย สถานการณ์ กาละเทศะมันไม่เหมาะที่จะให้เซ็น ให้กด ให้เขียน และวิญญูชนฅนดีๆ เขาไม่ทำกันเพราะดู nonSense นั่นแหละ ถึงให้เลี่ยงไปยินยอมด้วยวาจาได้ ปริยายได้ไง ฉะนั้น ต้องอยู่บน ❛ฐ❜ | ❝ ความยินยอม ❞ (Consent) ด้วยนะ ไม่ใช่ขอเปรอะไปหมด

 

◐ ในการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้ง วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไปด้วย (พคข.2562 PDPAᵀᴴᴬᴵ มาตรา 19 วรรค 3) ว่าจะเอาไปทำอะไร ไม่ใช่เหมาๆ ตีมึน แกล้งลืม บอกอย่างเอาไปทำอีกอย่าง

 

❖ การขอความยินยอมน้ัน ต้องแยกส่วนออกจากข้อความอื่นอย่างชัดเจน (แยกเอกสาร หรือเอกสารเดียวกัน แยกวรรคตอน ล้อมกรอบ ชี้บ่งแยกแยะจะๆ ก็ได้) มีแบบหรือข้อความที่เข้าถึงได้ง่ายและเข้าใจได้ รวมทั้ง ใช้ภาษาที่อ่านง่าย และไม่เป็นการหลอกลวงหรือทำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใจผิดในวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการจะให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ตามแบบและข้อความที่คณะกรรมการประกาศกาหนดก็ได้ (พคข.2562 PDPAᵀᴴᴬᴵ มาตรา 19 วรรค 3)

 

❈ ในการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องคำนึงอย่างถึงที่สุดในความเป็นอิสระของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการให้ความยินยอม ทั้งนี้ในการเข้าทำสัญญา ซึ่งรวมถึงการให้บริการใด ๆ ต้องไม่มีเงื่อนไขในการให้ความยินยอมเพื่อเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่มีความจำเป็นหรือเกี่ยวข้องสำหรับการเข้าทำสัญญาซึ่งรวมถึงการให้บริการนั้น ๆ (พคข.2562 PDPAᵀᴴᴬᴵ มาตรา 19 วรรค 4)

 

❉ ในกรณีที่การถอนความยินยอมส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในเรื่องใด ผู้ควบคุม ข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงผลกระทบจากการถอนความยินยอมนั้น (พคข.2562 PDPAᵀᴴᴬᴵ มาตรา 19 วรรค 6)

 

❊ การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ ไม่มีผลผูกพันเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และไม่ทำให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถทำการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ (พคข.2562 PDPAᵀᴴᴬᴵ มาตรา 19 วรรค 7)

❋ อธิบายมายืดยาว คุณคงคิดสินะว่า ❝ฐานความยินยอม ❞ มันยิ่งใหญ่โคตรๆ ในจักรวาล PDPAᵀᴴᴬᴵ แต่อาจารย์อยากให้คุณเห็นความยินยอม จาก ❛ฐ❜ | ❝ฐานความยินยอม ❞ (Concent : Cs – “ยอมยิน”) ให้ถ่องแท้นะ ไม่อยากให้โดนหลอก คุณหละมองความยินยอมยังไงกันมั่ง งั้นเรามาส่อง PDPAᵀᴴᴬᴵ  กันอีกรอบ ทั้งที่ก็หลายรอบมากแล้ว เอาที่เป็น GPD (General Personal Data : ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป) ในมาตรา 24 วรรคแรก ระบุว่า ❝ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการเก็บรวบรวม (ย้ำว่าเฉพาะ ก.ร. Collection นะครับ เกินเลยจากนั้น ไปดู มาตรา 27) ข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่… ❞ กับ SPD (Sensitive Personal Data : ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว) ในมาตรา26 วรรคแรก ระบุว่า ❝ห้ามมิให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (ย้ำว่าเฉพาะ ก.ร. Collection  เช่นกัน หากจะ ช.ป. ขอให้ไปดู มาตรา 27 นั่นแหละ) เกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใด ซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยไม่ได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่… ❞

 

❁ สิ่งที่อยากให้สังเกตคือมันมีสิ่งที่เหมือนกันของ GPD กับ SPD คือ ห้ามมิให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลไว้ก่อนเลย แล้วบอกว่าถ้าอยากเก็บรวบรวม เอ็งต้องได้รับหรือไปขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วเขาให้นะโว๊ย แล้วก็บอกต่อไปอีกว่า มันก็ไม่แน่เสมอไปหรอก ถ้าไม่ต้องยินยอมก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นเลย ถ้าเป็น GPD มี 6 ข้อยกเว้น หรือถ้าเป็น SPD มี 5 ข้อยกเว้น (ขอไม่อธิบาย พูดเยอะแล้ว ไปหาซื้อ ❝บทสรุป PDPAᵀᴴᴬᴵ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | หลักการ แนวคิด ข้อกฎหมาย กรณีศึกษาและแนวปฏิบัติ❞ PDPA Law Compendium (Principle , Concepts , Legal , Case study and Practices) หนังสือที่ขึ้นแท่นขายดีแบบไม่เกรงใจใคร เล่มแรกในประเทศไทยที่ครบ 5 มิติ มาอ่านเอาเองครับ ▪️สั่งซื้อโดยตรงที่เว็บไซต์ | http://bit.do/AJKs-Book เชิญได้เลย

 

❀ ดังนั้น แปลความว่ายังไงครับเนี่ย อย่าไปตามใจฅนเขียนกฎหมายว่าต้องเป็นไปตามนั้น ให้ดูสากลปฏิบัติประกอบข้อกฎหมายไทยๆ เราด้วย ใครๆ ก็มองว่า ทั้ง GPD กับ SPD นั้น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (DC : Data Controller) สามารถเก็บรวบรวมได้ ถ้าเช็คแล้วเข้าฐานตามข้อยกเว้น แต่หากข้อยกเว้นไม่ได้กล่าวไว้ ก็ต้องขอความยินยอมกันหละ ไม่ใช่ว่าต้องขอความยินยอมกันก่อนเสมอไป อย่ายึดติดว่ายินยอมต้องมาก่อน

 

✿ ให้มองเชิงเปรียบเทียบว่าความยินยอม (ข้อหลัก) เป็น ❛โทรเลข❜ ข้อยกเว้นเป็น ❛โทรสาร❜ มีโทรสารก็ไม่จำเป็นต้องโทรเลข (และเดี๋ยวนี้มันสาบสูญไปละ) เหมือนสิ่งของแทนกันได้ทำให้อีกสิ่งด้อยค่า ไร้ค่าหรือไร้ความจำเป็นในเวลานั้นๆ หรือความยินยอมคือจดหมาย ข้อยกเว้นเป็นอีเมล์ ถ้าต้องส่งงานเป็นไฟล์หรือเอกสาร ส่งอีเมล์เลย จดหมายไม่ต้อง ไวกว่าด้วย ฉะนั้นถ้าเรามองแบบนี้ให้เป็นแล้ว ให้มุ่งไปตามหาข้อยกเว้นก่อนข้อหลักนะครับ หรือเมื่อหาข้อยกเว้นเจอ แต่มึงยังอยากขอความยินยอมกันเหนียวอีก ประมาณว่าจับปลาสองมือ รักพี่เสียดายน้อง จะพลาดเอา คิดแบบนั้นมันจะไม่เหนียวจริงนะสิ เหมือนเขียนสัญญาไม่ให้เข้ามาในบ้าน แต่ยื่น (ยอมให้) กุญแจไป ทำนองนั้นแหละ

 

✾ เวลาอ่าน มาตรา 24 [GPD] กับ มาตรา 26 [SPD] ให้ไปดูตรงข้อยกเว้นเลยอันดับแรกว่าองค์การ องค์กรเราที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (กร.-ช.-ป. หรือ CUD : Collection (C) , Use (U), Disclosure (D) ต้องโฟกัสให้ถูกที่ ถ้ามันเข้า ❛ฐ❜ ไหน ของข้อยกเว้น ก็ไม่ต้องไปใช้ ❝ฐานความยินยอม ❞ (Consent) นะ ไม่งั้นโง่ บรมโง่เลย แล้วใครสั่ง ใครสอนมาก็อย่าเขว อย่าหลงเชื่อง่ายๆ ที่ปรึกษารู้ไม่จริง บอก ถ่ายทอด ให้คำปรึกษาแนะนำผิดๆ มีเยอะ ชั่วโมงบินน้อย เก่งทฤษฎี สอบได้ใบ Certificate แต่ปรับใช้ไม่เป็น บอกผิดบอกถูก เท่ากับ ❛มิจฉาชีพ❜ครับ (ᴬᴶᴷการหาเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด ไม่ใช่แค่อาชีพที่ผิดกฎหมายเท่านั้นนะ อาชีพถูกกฎหมายแต่วิธีหากิน หลอกลวง ขี้ฉ้อ โกหก มอบยาพิษในการสอนการให้คำปรึกษาก็ถือว่าเป็นมิจฉาชีพนะเหมือนกัน)

 

▧ ส่วนเรื่อง ❛ฐ❜ | ❝ฐานพันธะสัญญา (Contract : Ct) ขณะที่เขียนตอนแรกก็อยากจะอุบไว้ก่อน เพราะมันมีความสัมพันธ์กับความยินยอมที่ทำให้งุนงงจนทุกวันนี้ว่าเมื่อมีสัญญาแล้ว เซ็นก็แล้ว ต้องมาขอความยินยอมทำไมอีกวะ หรือยินยอมแล้ว จะมาทำสัญญาเพื่อประโยชน์อะไรกันอีก จึงขอนำมาเล่าสู่กันเสียเลย ว่าด้วยหลักความยินยอมในทางนิติกรรม สำหรับ ❛ฐ❜ | ❝ฐานพันธะสัญญา  (Contract : Ct) ❞ ได้แก่

 

① นิติกรรมเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ เกิดขึ้นจากความยินยอมหรือข้อตกลงโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลซึ่งมุ่งประสงค์ต่อกันเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ ได้แก่ การก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือ ระงับสิทธิ นิติกรรมจะสมบูรณ์ได้โดยการแสดงเจตนา นี่แหละคือ ❝ฐานพันธะสัญญา (Contract : Ct) ❞ ซึ่งมีความยินยอมซุกซ่อนอยู่เสมอ ไม่งั้นจะเกิดสัญญาได้ยังไง ถูกมั๊ย ดังนั้นความยินยอมภายในสัญญาเมื่อมันก่อเกิดสัญญา จะไปเปลี่ยนใช้ ❝ฐานความยินยอม ❞ (Consent : Cs) มันก็เลยดูตลก

 

② มาตรา 1108 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส (ต้องขอเอามาเทียบเคียง) บัญญัติว่า ความยินยอมของคู่กรณีซึ่งประสงค์ จะผูกพันตนเองเป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้สัญญานั้นสมบูรณ์มีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย (จารีตประเพณี) แม้แต่ในกรณีที่สัญญานั้นกําหนดหน้าที่ให้คู่สัญญาเพียงฝ่ายเดียว การเกิดขึ้นของสัญญาต้องใช้ความยินยอมของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เห็นมั๊ยว่าสอดคล้องกฎหมายบ้านเรา

 

③ ความสมบูรณ์ของนิติกรรมประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้

 

✧ 3.1 เป็นการกระทําของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายเกิดขึ้นได้โดยความยินยอมหรือข้อตกลงที่มุ่งประสงค์ต่อกันเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ ตามมาตรา 149 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถ้าไม่ประสงค์ให้เกิดผลในทางกฎหมายย่อมไม่ใช่นิติกรรม มันยิ่งเป็นการ Confirm

มีต่อ ส่วนที่ 2 https://kriszd.com/news_page.php?id=72