OKRs แบบไทยๆ ✤เรื่องเพ้อฝัน ไกลสำเร็จ
••••ถ้าไม่ ✵เป็นหนึ่ง ย่อมไปไม่รอดฝั่ง

10.03•’2562
OKRs แบบไทยๆ
✤เรื่องเพ้อฝัน ไกลสำเร็จ
••••ถ้าไม่ ✵เป็นหนึ่ง ย่อมไปไม่รอดฝั่ง
 
By... AJK | อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
 
 
 LINE@ : https://goo.gl/LpxiYk
 f Messenger :  http://m.me/AJK.sciArtist/
 
 
 
 
✤แนวคิดดี OKRs [Objective and Key results] จำก็ง่าย OK แปลว่า “ตกลงใจ ใช่เลย” R ก็อาจกระแดะเป็นภาษาวัยรุ่นว่า “อ่ะ” รวมๆ ก็ว่า โอเคอ่ะ อย่าซีเรียสครับ เพราะต่อไปนี้จะซีเรียสกว่า มันต่างกับ KPIs (Key Performance Indicators) ยังไง  แล้วจะเลิกใช้ดีม๊ะ ไอ้ KPIs เนี่ย
 
✺ความแตกต่าง•••
1.
▫️KPIs : องค์การเป็นฅนสร้างตัววัดให้ แบบจับยัด อาจไม่ตรงงานที่ทำ
▪️OKRs : พนักงานคิดเอง สร้างตัววัดเอง เพื่อให้ตรงกับงานที่ตัวเองทำอยู่
 
2.
▫️KPIs : ตัวชี้วัดอาจไม่ไปด้วยกันกับทิศทางขององค์การในบางกรณี ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง
▪️OKRs : ตัวชี้วัดสอดกันและคล้องจองไปกับทิศทางองค์การ
 
3.
▫️KPIs : สามารถต่อรองเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ บ่นได้ว่าท้าทายเกิน ใครจะไหว ขอลดราลงหน่อย
▪️OKRs : ห้ามต่อรอง   เป้าหมายเป็นไงก็ให้เป็นตามนั้น เพราะกำหนดเอง อาจเสียสัตย์ถ้าตระบัด
 
4.
▫️KPIs : พนักงานจะมุ่งและเน้นแบบจดจ่อกับค่าเป้าหมายที่ถูกกำหนด จนขาดจินตนาการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
▪️OKRs : ไม่ติดกับดักเป้าหมาย สามารถคิดต่อยอด ขยายความคิดเลยเถิดจนเกิดนวัตกรรมได้
 
5.
▫️KPIs :ทำงานแบบ Silo* ไม่ค่อยสนใจในเรื่องความร่วมมือ
▪️OKRs : เน้นทีม เน้นการให้ความร่วมมือ
 
ขอปรามาส ถ้าผู้นำหรือฅนในองค์การยังมีพฤติกรรมแบบนี้ ยากครับ OKRs อาจจะเป็น KOR (ขี้โอ่อ่ะ) ซะมากกว่า...
▫️(1) การจะเอา OKRs มาใช้ ต้องให้ความสำคัญที่ ฅน ต้องคัดที่ใช่ เข้าใจคำว่าทำงานกับฅนอื่น ไม่เก่งฅนเดียว โอ่อวด ถือดี ต้องไม่ถ่วงความเจริญ ไม่ทำอะไรเล่นๆ มีความตั้งใจ พุ่งชนเป้าหมาย กัดไม่ยอมปล่อย หาไอ้ที่เก่ง ดี มีสุข ทำนองนี้แหละ ทำได้มั๊ย ยากมั้ย ไม่ง่ายหรอก ถ้า DNA ???? “ฅน” มันไม่ใช่เกิดมาเพื่อทำอะไรให้สำเร็จ มนุษย์พันธุ์แบบนี้หายาก ยิ่งมนุษย์เงินเดือนด้วยแล้ว ถ้าสบช่องทางที่ดีกว่ากูเผ่นแน่บ สละเรือกลางคัน ความรับผิดชอบต่ำเตี้ยเรี่ยเหว (ดิน ยังดีกว่านิดนึง) ผมว่าคิดก็เหนื่อยแล้ว ฅนแบบนี้หากมี องค์การเจริญโลดครับ
 
▪️(2) องค์การแบบไทยๆ ยังไม่ซึ้งถึงก้นบึ้งและแก่นแท้ของคุณค่า ค่านิยม (Core values) ว่าคืออะไรด้วยซ้ำ ไอ้ที่มีติดไว้ให้พรืดไม่ว่าจะเป็นวิสัยทัศน์เอย พันธกิจ ภารกิจ ปรัชญา สโลแกนมากมายเต็มผนังยาวเป็นโยชน์นั้น มองให้ชวนคิดว่าทำแบบขอไปที โชว์เท่ โชว์โง่ก็มี ประดับอวดเบ่ง แต่จริงๆ กลวงไม่ได้ทำอะไรเลย ใครถามตอบได้เป็นอับดุล แต่ผลลัพธ์ไปฅนละทาง เข้าใจไม่ตรงกัน มือไม่พายเท้าราน้ำมีให้เห็นๆ เออ❗️กูงงครับ
 
▫️(3) การศึกษากึ่งๆ ระบบผมว่าดีนะ ไม่ต้องยัดเยียดเรียนจนหัวบวมจากครู อาจารย์ที่รู้แต่ทฤษฎี ไม่เคยปฏิบัติ ที่เคยปฏิบัติก็ทำธุรกิจเจ๋ง ไม่เก่งอย่างทฤษฎี จนต้องเสียเงินกวดวิชากันฉิบหายวายป่วง ผมว่าเรียนรู้ ได้รับการถ่ายทอดจากฅนที่มีประสบการณ์ ความสำเร็จและการเป็นที่ยอมรับจะดีกว่าเยอะ แล้วเทียบโอนเอา ส่วนระบบการศึกษานั้นถ้าออกแบบกันดีๆ เอาแค่พื้นฐานก็พอ ปูเรื่องจิตสำนึก ความรับผิดชอบ หน้าที่พลเมืองดี สมบัติผู้ดี ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม การทำงานเป็นทีม ความร่วมมือ Mindsets เป็นต้น
 
♦️ตราบใดที่ระบบการศึกษายังบ้าเกรด สนทฤษฎี เด็กเส้น ห่วงผลสอบ ต่างฅนเรียน ต่างฅนทำ ตัวใครตัวมัน แข่งขันฉิบหายเลยเพื่อเอาผลไปโอ่ ไปใช้เป็นหลักในการประกอบอาชีพ ไปสมัครงาน มันหลงทิศผิดทางมาแต่ต้น แม้เคยปฏิรูปการศึกษาไปแล้วก็ไม่ช่วยอะไรเท่าไหร่ พวกน้ำบ่าล้นทะลักแก้วจะนำพาองค์การให้ถึงทางตันไวขึ้น วัดผลก็ทำในแบบที่ไม่เข้าใจแก่น บ้าเครื่องมือการบริหารจัดการจนเบลอเอง มึนๆ ไปหมด เอาทุกอย่างในโลกที่เค้าว่าดีมาใช้เหมือนเป็น Festival แต่หลักการพื้นๆ ที่ว่า “❦ให้รวมใจเป็นหนึ่ง” กลับไม่เข้าใจ เจริญจริ๊ง•••
 
✺ผมได้ดูหนังอนิเมชั่นกับลูกๆ เรื่อง "ครุฑ มหายุทธ หิมพานต์" ผมว่าอธิบาย OKRs ผ่านบทเพลงและเรื่องราวได้ดี ซึ่งลูกสาวฝาแฝดของผมดูเกินกว่า 30 จบแล้ว ทุกวันนี้ยังให้เปิดดูเรื่อยๆ จากบลูเรย์ หนังดีทีเดียว มีข้อคิดดีๆ เล่าย่อๆ นิดนึง ส่วนในวงเล็บเป็นความเห็นผมเองครับ เรื่องของเรื่องย้อนไปอดีตอันไกลโพ้นนานเกินกว่าจินตนาการจะเดินทางไปถึง ในสมัยที่โลกยังมิได้เป็นเช่นที่เห็นทุกวันนี้ และมนุษย์ก็ยังมิได้เป็นผู้ครอบครองพิภพทั้งหมด หากเป็นเพียงเผ่าพันธุ์เล็ก ๆ ที่เพิ่งเกิดใหม่ในหมู่สิ่งมีชีวิต อาทิ คชสีห์ นรสิงห์ ครุฑ นาค รากษส กินนรี กินนร ที่ผลัดเปลี่ยนกันทำสงครามเพื่อแย่งชิงและยึดครองอาณาจักรของกันและกัน (เปรียบเสมือนการแย่ง Market share ในโลกธุรกิจทุกยุคสมัย) สมัยนั้น ศูนย์กลางของโลกคือเขาพระสุเมรุแวดล้อมด้วยมหานทีสีทันดรอันกว้างใหญ่ไพศาล กินอาณาเขตไปจนเกือบจะถึงสุดขอบโลก ไกลโพ้นออกไปจากนั้นคือ ป่าหิมพานต์อันเป็นที่อยู่ของบรรดาสิงสาราสัตว์แสนพิสดารทั้งหลาย ก็มี “รากษส” (ยักษ์อสูร ถ้าให้เปรียบก็เสมือนเป็นความวุ่นวาย ปัญหา และอุปสรรคภายในองค์การแต่ละองค์การเลยก็ว่าได้ เบามั่ง หนักมั่ง) มันเป็นเผ่าพันธุ์เร่ร่อนมีนิสัยดุร้ายป่าเถื่อน ที่รวบรวมไพร่พลบุกตะลุยตีอาณาจักรเล็กอาณาจักรน้อยจนพ่ายแพ้ราบคาบ (✤ถ้าปัญหามันใหญ่กว่าปัญญา มันก็สามารถเอาชนะเราได้ง่ายดาย เราจึงต้องใช้สติปัญญาให้มากกว่าอารมณ์ความรู้สึก เมื่อต้องกำจัดปัญหาและรบกับอุปสรรคนานัปการ) จนมาถึงชายแดนเมืองอโยธยาที่ปกครองโดยเหล่าครุฑ ในที่สุดทัพหน้าของพวกรากษสก็ยาตรามาถึงและทำการถล่มประตูเมืองอโยธยาอย่างหนักจนต้องเสียเมือง (องค์การพัง)
 
 “✪พญาวัชระครุฑ” ทหารเอกแห่งอโยธยา และเหล่าทหารครุฑเห็นทีว่าจะป้องกันเมืองไม่อยู่ จึงตีฝ่าวงล้อมบินข้าม มหานทีสีทันดร ไปรวบรวมขอความช่วยเหลือจากสัตว์น้อยใหญ่ในป่าหิมพานต์ (ถึงเวลาต้องรวมใจเป็นหนึ่งเพราะปัญหามันเดียวกัน ต่างฅนต่างโชว์เก่งคงสู้ไม่ได้) รวมถึง “กินนร” ผู้เคยเป็นปรปักษ์กันมาก่อน ผมมองเป็นสัจธรรมครับศัตรูของศัตรูคือมิตร ซึ่งเดิมครุฑเคยรุกรานกินนรมาก่อนและนำกินนรมาใช้งานเป็นทาส แต่พวกยักษ์อสูรมันร้ายโหดกว่า ต้องการฆ่าทุกเผ่าพันธุ์จึงต้องร่วมมือกันทิ้งความบาดหมางใดๆ ให้หมดสิ้น มหาสงครามระหว่างเผ่าพันธุ์จึงอุบัติขึ้น กองกำลังผสมของเหล่าสัตว์หิมพานต์ จะไปช่วยพวกครุฑชิงเมืองอโยธยากลับคืนมาจากพวกรากษสด้วยกลยุทธ์รวมใจเป็นหนึ่ง แบ่งหน้าที่ สร้างตัวชี้วัดผล กำหนดเป้าหมายแต่ละตัวชี้วัดให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน เหมือนทำ OKRs** มานานแสนนานแล้วด้วยซ้ำ แต่เรากลับคิดไม่เป็น ต้องให้ฝรั่งตาน้ำข้าวมันคิดมาให้ เห็นดีเห็นงามต่อเมื่อฝรั่งทำสำเร็จ กรรมเวรแท้❗️ ผมเปรียบเอานะว่าคชสีห์ นรสิงห์ ครุฑ นาค กินนรี กินนร เสมือนหน่วยงานแผนก ฝ่ายต่างๆ (องค์กร) ขององค์การนั่นแหละฉะนั้นองค์การ ผู้นำ ต้องฉลาดบริหารทีม ต้องหาจุดร่วม สงวนจุดต่างให้ได้ ฅนมากหน้าหลายตาร้อยพ่อพันแม่มารวมกัน เรียนรู้ต่างกัน คิดต่างกัน วัตรปฏิบัติต่างกัน มันคือเรื่องบริหารความแตกต่างล้วนๆ ทำให้ลงตัวให้ดีที่สุดในแต่ละสถานการณ์ ผู้นำจึงสำคัญที่สุดอย่างอนิเมชั่นเรื่องนี้ “พญาวัชระครุฑ” ถูกยกเป็นผู้นำบัญชาการรบเหล่าผู้นำของแต่ละเผ่าพันธุ์ OKRs จึงสำเร็จยึดเมืองคืนได้ จัดการพวกรากษสได้ เพราะใจที่ ✺เป็นหนึ่ง ผมชอบท่อนนี้ ฟังเอาติด MV เพลงมาให้ด้วย
 
 ▫️▫️▪️▪️▪️▫️▫️▫️
“❦ขอบคุณที่เธอยอมผูกหัวใจให้เป็นหนึ่ง ขอบคุณที่เอากายและหัวใจมาผูกกัน จากนี้คงไม่มีเรื่องร้ายใดให้ต้องหวั่น กี่ร้อยพันภัยใดก็ไม่ต้องหวาดกลัว”
 
✤ฅนไทยไม่ได้โง่ รู้ทุกอย่าง ขาดแต่ไม่ยอมทำ ดูถูกตัวเอง ไม่มั่นใจ บางทีแก่กระโหลกกะลาเยอะครับบ้านเรา ไม่ว่าฅนไทยหรือต่างด้าวพอมาอยู่ทำมาหากินในบ้านเราเลยถูกซึมซับมาแบบว่าเหมือนๆ กัน ทำอะไรทีขอข้อมูล ไม่ผิดหรอก แต่เยอะเกินจนกลายเป็นบ้าข้อมูล ต้องเปรียบเทียบ มีสถิติ อ้างรายงานวิจัย ผลประเมิน จิปาถะ คือคิดเอง ทำเอง ใช้พลังทีมไม่เป็น ไม่ได้ ขาดความเชื่อใจ ถ้าทีมอ่อนก็ไม่ว่า ทีมแข็งโป๊กกลับไม่ไว้ใจ ลังเลอยู่นั่น ขาดความเคารพซึ่งกันและกันมันจะเป็นทีมได้ยังไง ยุคสมัยเปลี่ยน แต่ยังทำแบบเดิมๆ คิดในปลักที่จมไม่แปรเปลี่ยนผลลัพธ์การบริหารมันจึงแปรผกผันและแปรปรวนยังไงล่ะ
 
✪สอนงานก็แบบข้าอาบน้ำร้อนมาก่อน อย่ามาเถียง เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด ผมว่าเลิกได้แล้ว Mindset รั่วๆ แบบนี้ เกิดก่อนเกิดหลังไม่ใช่ point ถ้าคุณเป็นฅนรุ่นเก่าที่ยากแก่การพัฒนาและตามการเปลี่ยนแปลงของยุคไม่ทัน ไม่เข้าใจ ไม่รู้เท่าทันยุคสมัย ยึดติดดักดาน คุณจะไปต่างอะไรกับไดโนเสาร์หลงยุคเล่า จริงมั๊ย อย่าริมาสั่งสอนหรือเที่ยวเอามายัดเยียด อยู่เป็นปูชนียบุคคลให้เคารพนับถือดีกว่าต้องมาถูกถอนหงอกภายแก่ ยิ่งจะคิดเปลี่ยนความคิดฅนยุคนี้ ครอบงำ ไม่ให้เกียรติ ไม่ใจกว้างเปิดรับมันไปไม่รอด สังคมเราถ้ายังเป็นแบบนี้ OKRs ไม่มีวันสำเร็จ ใช้ๆ ไปเถอะยังไม่ทันสำเร็จสะเด็ดน้ำดี เดี๋ยวเครื่องมือบริหารใหม่ๆ มันก็ออกมาอีกตรึม ออกมาแทนที่เพราะฅนคิดเองไม่เป็น คอยแต่ลอกฅนอื่นมันง่ายดี อย่างนี้จุดยืนคุณและองค์การยังไม่มีเลย แล้วจะหวังอะไรให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายล่ะครับ มองไม่เห็นทางจริงๆ เว้นแต่ #ทางของฝุ่น ผมอยากเห็นความสำเร็จแบบทิ้งไม่เห็นฝุ่นมากกว่า ยิ่งยุค Disruption แล้วต้องการความไวมหาศาลด้วย เผลอๆ เปิดวาร์ป [warp] ที ยุคสมัยเคลื่อนไปไกล ช้าไม่ทันกินจริงๆ
 
✎ในงานอบรมสัมมนาเกร่อครับเห็นเอามาโชว์โอ่ว่าทำ OKRs สำเร็จ บางทียังไม่สำเร็จแบบยั่งยืน แต่ด่วนโชว์ แค่เห็นว่า หรือสำเร็จสั้นๆ ก็ใจร้อน ผมว่าของปลอมนะ เกร่อด้วย อย่าไปหลงไหลได้ปลื้มตามการพรีเซ้นท์ ไปเรียนรู้ก็หัดถามให้จนกระดาน ตอบไม่ได้ก็ปลอมละว้า เอาอะไรที่เคยๆ ทำมาปัดฝุ่นแต่งตัวนิดหน่อยออกงาน HR show ได้เงินได้กล่องแล้ว มันง่าย ฉาบฉวยเกินไป ครับ #ประเทศกูมี เยอะด้วย
 
✵พวกเล่นการเมืองในองค์การ เห็นแก่ได้ เอาเปรียบ คอรัปชั่น หวงตำแหน่ง กอดอำนาจ ภูมิใจวุฒิการศึกษา ภาคภูมิเหรียญตราเกียรติยศ ใบปริญญา แต่งโปรไฟล์ให้โคตรเท่ห์ แบ่งฝักแบ่งฝ่าย มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ไม่ฟังใคร อดทนรอผลสำเร็จไม่ได้ หัวสี่เหลี่ยม ไร้สติ ขาดภาวะผู้นำ วุฒิภาวะแตกซ่าน หมกเม็ด แถเก่ง สีข้างด้านแล้วด้านอีก นาฬิกายืมเพื่อน เปลี่ยนสเตตัสฉับพลัน ฯลฯ พฤติกรรมแบบนี้บั่นทอนความเจริญ ขาด Soft Skills ไปไม่รอดหรอกครับ หากนำ OKRs มาใช้ในองค์การ
 
✤ฅนเป็นผู้นำ ผู้บริหารไทยๆ อัตตาโคตรสูงปรี๊ด ใจแคบ ไม่แน่นในกูแซ่ (KUSAE : Knowledge ,Understanding ,Skills ,Attitude ,Experience) แล้วไม่พยายามขวนขวายอีก ยิ่งไม่เก่งศาสตร์ไม่เอาศิลป์ ทั้งที่ก็รู้นะว่า Management ใดๆ มันสำเร็จได้ด้วยการใช้ ศิลปะเข้าไปจัดการมัน OKRs ก็เป็นศิลปะด้วย ต้อง KUSAE ดีๆ
 
 สิ่งสำคัญสุดๆ ในการนำ OKRs มาใช้ คือ เอาชนะตัวเองของตนและองค์การให้ได้ก่อนด้วยการปรับ Mindset เปลี่ยนพฤติกรรม บริหารจริต คัดฅนที่ใช่จริงๆ ไม่ใช่ปริมาณ อย่าเสียดายหากต้องรอ ไม่ใช่ใครก็ได้เอาดะไปหมด ถ้าจะเอาต้องเอามาให้มารุมทึ้งเป้าหมายองค์การว่ากันเป็นทีมรับรองไม่หลุดเป้าแน่ๆ และบริหารกลยุทธ์ให้เป็น Soft Skills เน้นให้เยอะๆ อะไรที่ใช้ตัดสินถูกผิดก็ต้อง Learning หนักๆ บ้านเราปกครองด้วยกฎหมาย ไม่สนใจมั่งจะถูกเล่นงานได้ (โลกของกฎหมายมันมีถูกกับผิด โลกบริหารไม่มีถูกไม่มีผิด ให้ระวังแนวคิด การนำเสนอที่อาจถูกเชิญชวนให้ผิดหลงได้) ไม่ใช่เรียนแต่ HR แต่ไม่เข้าใจฅน ไม่เข้าใจสังคมไทย บริบท ความเป็นไทยๆ ไปกันใหญ่เลยงั้น อีกอย่างตามหลัก Iceberg ก็ต้องให้รู้จริงทั้งบนและใต้น้ำแข็ง
 
✵ขอให้จำเอาไว้ดีๆ ว่า OKRs เป็นการพัฒนาเป็นการเรียนรู้ ไม่ได้มุ่งเน้นในการให้ผลตอบแทนหรือรางวัลนะครับ ไม่ใช่ว่าปัจจัยเปลี่ยนแต่ไม่ยอมขยับปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์และ KPIs (หรือ Key Results) หากคิดแบบนั้น ผิดเลย หลงทางอย่างแรง ย้ำๆ อีกทีต้องเกิดการเรียนรู้ด้วยนะ ถ้าทำง่ายบรรลุง่ายมันไม่เกิดการเรียนรู้อะไรเลย ก็ผิดอีก สิ่งที่ดีของแนวคิดนี้คือมันใช้ได้ในทุกๆ ระดับขององค์การ
 
✤ขอสติจงสถิตย์อยู่กับท่าน คิดให้แตกอะไรคือแก่นแท้ของ OKRs กันแน่ พื้นฐานหนีไม่พ้น OKRs = TLOCK ผมสรุปมาให้เลย ลองดู
 TLOCK = ▫️Team +▪️ Learning Organization + ▫️Objective + ▪️CQD {Continuous Quality Development} + ▫️Key Results (KPIs)
 
✤จะสำเร็จหรือล้มเหลว อยู่ที่กำจัดสิ่งที่ผมพูดๆ ไว้ข้างต้นได้มั้ยนั่นแหละ ดีสุดแล้ว.
 
 
♾∞♾∞♾∞♾∞♾∞
อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

นักวิทย์ศิลป์
ผู้เชี่ยวชาญ HRM HRD OD Strategic Management TQM ISO
ผู้นำแห่งกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการ อันดับหนึ่งในประเทศไทย
ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญการบริหาร เข้าใจนายจ้างลูกจ้าง
Blog | http://AJK.bloggang.com
“ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เป็นธรรม ย้ำหลักสุจริต ไม่คิดเอาเปรียบ”
 
♦เพราะผม...ไม่พลาดอยู่แล้ว
A͙J͜͡K’ʂ ♦who has never defeat.
✺Credit : ✵อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
Ref. : www.KRISZD.com
Credit : ꍏj.Kяιꌗz∂ ꀎ-✞ɧąıཞaṭⒸ
 
♦ อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์| นักวิทย์ศิลป์ Sc̫ίArϯίṧt
ωωω.ƘRISZD.ꉓom
KDV@KRISZD.com
 
#สำนักงานอาจารย์กฤษฎ์ #AJKsMissionDevelopmentCenter #AJK_MDC #อาจารย์กฤษฎ์ #AjKriszd #อาจารย์กฤษฎ์อุทัยรัตน์ #นักวิทย์ศิลป์ #กฎหมายแรงงาน #กฎหมายแรงงานในประเทศไทย #KDV #ที่ปรึกษากฎหมายแรงงานอันดับหนึ่ง #LabourProtection #LabourRelation #คดีแรงงาน #ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน #OKRsแบบไทยๆ #OKRsเรื่องเพ้อฝันไกลสำเร็จ #ถ้าไม่เป็นหนึ่งOKRsย่อมไปไม่รอดฝั่ง #OKRs
 
 
✎หมายเหตุ :
*ไซโล
•The Silo Mentality is an attitude that is found in some organizations; it occurs when several departments or groups within an organization do not want to share information or knowledge with other individuals in the same organization. A silo mentality reduces the organization's efficiency and can contribute to a failing corporate culture.
•เป็นพฤติกรรมหรือกรอบความคิดประเภทที่ว่า หน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กรเดียวกัน ไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือองค์ความรู้ระหว่างกัน ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานต่ำลง ขวัญกำลังใจพนักงานตก และอาจส่งผลถึงขั้นทำลายวัฒนธรรมองค์กรได้
 
**OKRs เป็นหลักการที่ Google นำมาใช้ และประสบความสำเร็จ ทำให้บริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ลอกไปใช้ตามด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้ว Google ไม่ใช่บริษัทแรกที่ใช้คนแรกคือ Intel โดย MD ที่แสนกร้าวนาม “Andy Grove” เป็นฅนเอามาใช้ในปี ค.ศ. 1974 ซึ่งหลักการนี้ได้ช่วยให้ Intel ประสบความสำเร็จมาก จน “Andy Grove” ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่ง OKRs” น้ำพริกในถ้วยเก่า พอเปลี่ยนถ้วยใหม่ใส่ไปก็แหล่มได้นะ
 
ขอขอบคุณ : ภาพยนตร์แอนิเมชั่นฝีมือของคนไทย ครุฑ มหายุทธ หิมพานต์ โดยผู้กำกับภาพยนตร์ ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ พร้อมทีมงานได้ขึ้นกล่าวถึงเรื่องราวและการสร้างสรรค์แอนิเมชั่น ที่ลงทุนลงแรงกว่า 4 ปี โดยภาพยนตร์ดัดแปลงเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยาจำลองเหตุการณ์โดย ครุฑ กินรี พญานาคราช สิงสาราสัตว์ ร่วมต่อสู้เพื่อชิงเมืองคืนจากเหล่ายักษ์ร้าย