มี 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ การแรงงานสัมพันธ์
ลองมาทำความเข้าใจกันหน่อยนะครับ ว่ามีความแตกต่างกันยังไง
และหากมองตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 แล้ว จะเป็นยังไง?

26.02.2561 - 00.08
 

มีคำอยู่ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ "การแรงงานสัมพันธ์" ลองมาทำความเข้าใจกันหน่อยนะครับ ว่ามีความแตกต่างกันยังไง และหากมองตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 แล้ว จะเป็นยังไง?

 

1. คำว่า "Action Short of a Strike" (Human Resources Terms) คือ การปฎิบัติการช่วงสั้นๆ (แต่ก็ลากยาวได้นะ) ของสหภาพแรงงานประหนึ่งคล้ายกับการนัดหยุดงาน (Strike) เล็กๆ ไปในตัว แต่ตามกฎหมายมันก็ไม่ใช่ จึงถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการปฎิบัติการทางอุตสาหกรรมสัมพันธ์ โดยการกดดันฝ่ายนายจ้างด้วยการกระทำต่างๆ นานาแทนการนัดหยุดงาน (เพราะยังไม่ถึงเวลา) เพื่อให้นายจ้างยอมตกลงในข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานนั่นเอง ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่แยบคาย

อ้าว! แล้วมันเกิดตอนไหนของขั้นตอน "การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง" ล่ะ(ไปดูที่อาจารย์วงไว้นะครับ) ว่ากันง่ายๆ คือ จะต้องเกิดขึ้นก่อนการนัดหยุดงานหรือปิดงานหรือก่อนมีการตกลงกัน (พอใจ) จนนำไปสู่การจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วเสร็จเรียบร้อยว่างั้นเถอะครับ

 วิธีการกระทำ เช่น การปฏิเสธไม่ทำงานล่วงเวลา (ออกโอที) การทำงานถ่วงช้า ประวิงเวลา แบบสบายๆ เสร็จก็ช่างไม่เสร็จก็ช่าง Slow down นั่นแหล่ะ หรือเถรตรงทำอะไรเป๊ะๆ ตามกฎกติกาทุกขั้นตอน (แทนที่จะข้ามขั้นตอนไปได้ในบางตอน เพื่อให้งานเสร็จ/สำเร็จไวขึ้นก็จะไม่ทำ) งดการเอื้อเฟื้อไว้ก่อน เป็นต้น แนวๆ เบาะๆ แค่สั่งสอนนายจ้าง ไม่ถึงขั้นร้ายๆ อย่างวางยาเครื่องจักร เผาโรงงาน ปล่อยสารเคมี อะไรทำนองนั้นนะครับ

ในประเทศอังกฤษ เรียกว่าปฎิบัติการ "Cut Price" ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการของสหภาพแรงงานที่กระทำแล้วนายจ้างอ่วมอรทัยไปไม่เป็น ถ้าไม่เตรียมรับมือหรือทำ “Strike Plan” ดีๆ ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการนัดหยุดงาน มันจะกระทบและเสียหายยิ่งกว่าการนัดหยุดงานถึง 2 เท่า คือใช้วิธีกดดันนายจ้างโดยวิธี Industrial action ลูกจ้างไม่เสียหาย ได้ค่าจ้างปกติ แต่นายจ้างเสียหายเพราะได้ผลผลิตที่น้อยลง ไม่เข้าเป้า ใน อังกฤษ เรียกกันว่า "Cut Price Industrial Action" ครับ

ประเด็นแรกนี้ ไม่มีปรากฏในกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ของไทยเรา เพราะคงไม่ไปเขียนกฎหมายให้เป็นการเปิดช่องให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเดินเกมรุกรับ เผยไต๋ ใส่ชั้นเชิงกันหรอก ว่าม๊ะ?

 

2. คำว่า "Strike" คือ การนัดหยุดงาน (ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 มาตรา 5) "การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราว เนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน" (ไม่ได้ค่าจ้าง )

3. คำว่า "Lock Out" คือ การปิดงาน (ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 มาตรา 5) "การที่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานชั่วคราว เนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน" (ไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง)

ประมาณนี้ล่ะครับ ว่าก็ว่าเถอะ "กฎหมายแรงงานสัมพันธ์" บ้านเราผมอยากให้เริ่มต้นจาก "การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง" ก่อน แต่นี่กฎหมายตัวนี้ เกิดมาตั้งแต่ปี 2518 อ่านยังไงๆ ก็ต้องการให้ทะเลาะกัน เปิดฉากไล่เรียงตั้งแต่มาตรา 13 ยันมาตรา 159 จนจบบทลงโทษจำคุกกับปรับนั่นเทียว
(นี่ไม่รวมบทเฉพาะกาล ตั้งแต่มาตรา 160 - 163 นะครับ)

 

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ 

นักวิทย์ศิลป์ 
ผู้เชี่ยวชาญ HRM HRD OD Strategic Management TQM ISO 
ผู้นำแห่งกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการ อันดับหนึ่งในประเทศไทย
ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญการบริหาร เข้าใจนายจ้างลูกจ้าง

“ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เป็นธรรม ย้ำหลักสุจริต ไม่คิดเอาเปรียบ”

✺Credit ภาพ : คุณสุจิพงษ์ จันทร
✺Credit Post :  อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

Ref. : www.KRISZD.com
Credit : ꍏj.Kяιꌗz∂ ꀎ-✞ɧąıཞa̘̫͈̭͌͛͌̇̇̍ṭⒸ
อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
นักวิทย์ศิลป์ Sc̫ίArϯίṧt

ωωω.ƘRISZD.ꉓom

KDV@KRISZD.com

 

#บริหารทรัพยากรบุคคล #กฎหมายแรงงานปี2560 #Management #KRISZD#number1กฎหมายแรงงานในประเทศไทย #ผู้เชี่ยวชาญHRM_HRD_OD_StrategicManagement_TQM_ISO_Safety_BusinessAnalysis
#AjKriszd #AJK #KDV #สภาพการจ้าง #ที่ปรึกษากฎหมายแรงงานอันดับหนึ่ง#อาจารย์กฤษฎ์ #อาจารย์กฤษฎ์อุทัยรัตน์ #ผ่าประเด็นบริหารฅน#LabourProtection #LabourRelation #KriszdUthairatn #คดีแรงงาน #ทนายความคดีแรงงาน #ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน #อันดับ1คดีแรงงาน #ระเบียบข้อบังคับและแนวปฏิบัติการบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับพนักงาน #สัญญาจ้างแรงงาน #สัญญาทางธุรกิจทุกประเภท #Strike #LockOut#ActionShortOfAStrike #กฎหมายแรงงานสัมพันธ์