ให้คำปรึกษา ตรวจสอบ และ
รับร่าง/เขียน
“ระเบียบข้อบังคับการบริหารทรัพยากรบุคคล” ตาม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541
แบบเล็งผลเลิศ

 

         ภาษากฎหมายแรงงานเรียกว่า "ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน" บ้างก็เรียกว่า “ระเบียบข้อบังคับการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งจะใช้ชื่อเรียกแบบไหนก็ได้ กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ เชิญตั้งให้สวยหรู วิลิศมาหรา ได้เลย มันคือสุดยอดคัมภีร์ บริหารจัดการ "ฅน" และองค์กร ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่วิเศษ ถ้ารู้จักทำและเอาไปใช้จริงจัง ผู้ประกอบกิจการจะบริหารฅนอยู่หมัด ทำธุรกิจดำเนินกิจการ ไม่ต้องไปห่วงหน้าจะรุกทางธุรกิจ แล้วมัวพะวงหลังว่าพนักงานลูกจ้างจะดื้อดึง ไร้วินัย ขาดงานบ่อย เฉื่อยงานอีกต่อไป นำไปบริหารแล้วจะเห็นผล

          อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ เจ้าตำรับในการให้คำปรึกษา ตรวจสอบ และรับร่าง/เขียน ระเบียบข้อบังคับการบริหารทรัพยากรบุคคล : ให้เป็นสิทธิฝ่ายจัดการ และสอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541 ปรับปรุงล่าสุด พ.ศ. 2551 มีคำตอบให้ท่านแล้ว รับรองไม่มีผิดหวัง แต่ "แพง" แบบคุ้มค่า รับประกันถูกฟ้องคดีแรงงานนายจ้างจะแพ้ไม่เป็นแน่นอน หากไม่ถูกฟ้องก็จะได้รับคำสรรเสริญเยินยอจากพนักงานลูกจ้างว่ายอดนายจ้าง

          หัวใจสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ต้องพึ่ง "ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน" ซึ่งอาจารย์กฤษฎ์ ท่านถนัดและชำนาญในการนำมาจัดทำในรูปแบบ ระเบียบ ข้อบังคับและแนวปฏิบัติการบริหารทรัพยากรบุคคล อันเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติ ปกครอง บังคับบัญชาพนักงานในองค์กร และใช้กับสหภาพแรงงานได้เป็นอย่างดี หากท่านจ้างเรา ท่านจะปลอดภัย ไร้กังวล เนื่องจาก KDV เป็นที่ปรึกษาในการเขียน ระเบียบ ข้อบังคับที่ดีในระดับ Top Three ซึ่งรับรองผลใช้งานได้ดีในการบริหารทรัพยากรบุคคล กฎหมายว่าด้วยแรงงานทุกฉบับ บริหารธุรกิจ โดยอาจารย์ กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ผู้คร่ำหวอดในแวดวงกฎหมายแรงงาน การบริหารทรัพยากรบุคคล บริหารธุรกิจ เป็นผู้บริหารระดับสูงมาก่อน เป็นลูกจ้าง เป็นผู้พิพากษาในศาลแรงงานกลาง เป็นที่ปรึกษากฎหมาย ฯลฯ มาแล้ว ได้จัดทำ ให้คำปรึกษา ตรวจทาน ทวนสอบ วิเคราะห์ให้องค์กรทุกขนาด SML มาแล้วมากมายกว่า 325 แห่งในประเทศไทย

          ผลดีที่เกิดจากการจ้าง KDV  ในการเขียนระเบียบข้อบังคับต่างๆ จะช่วยให้ระเบียบข้อบังคับ และแนวปฏิบัติ เป็นไปในทิศทางที่องค์กรต้องการ ไม่แพ้คดี บริหารได้เยี่ยม ยืดหยุ่น ใช้ทางบู๊และบุ๋นได้อย่างเล็งเห็นผลเลิศมาแล้ว

8 รายการ หัวใจสำคัญของการเขียนระเบียบ ข้อบังคับในการทำงาน อย่างน้อยต้องเขียน ได้แก่

·        วันทำงาน เวลาทำงานปกติและเวลาพัก

·        วันหยุด และหลักเกณฑ์การหยุด

·        หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด

·        วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด

·        วันลา และหลักเกณฑ์การลา

·        วินัยและโทษทางวินัย

·        การยื่นคำร้องทุกข์

·        การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ

แต่ช้าก่อน.... อาจารย์กฤษฎ์เขียนน้อยไม่เป็น ต้องมีการการวางโครงสร้าง ระบบควบคุมเอกสารระเบียบ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วย แน่นอนที่สุดรูปแบบกฎหมายไม่บังคับ จะให้ความเป็นอิสระในการจัดทำ นี่คือลิขสิทธิ์เฉพาะของอาจารย์กฤษฎ์ ในการออกแบบให้องค์กรท่านดีที่สุด เพราะสามารถนำมาบริหารให้เป็นไปตามนโยบายองค์การของนายจ้าง และสร้างเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีได้ด้วย

ข้อควรระวัง...ที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องพึงระวัง เพื่อป้องกันความผิดพลาดทางกฎหมายแรงงาน ไม่ใช่ลอกองค์กรอื่นมาใช้ พนักงานตรวจแรงงานแจ้งว่าผ่านแล้ว ท่านจะรอด เพราะมันเป็น "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง" ตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ด้วย

ทำไม?

ไม่คิดทำให้เป็น "สิทธิฝ่ายจัดการ" จะได้สงวนสิทธิ์แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพิ่ม ลด ยกเลิกได้ตลอดเวลาโดยไม่ฝ่าฝืนกฎหมายด้วย แต่นี่คือศิลป์ที่อาจารย์กฤษฎ์ สั่งสมประสบการณ์มาจนตกผลึก รับรองประสิทธิภาพและประสิทธิผล ไม่เคยแพ้คดีกับลูกจ้างจากระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในสไตล์อาจารย์กฤษฎ์มาก่อนเลย เป็นสไตล์การเขียนไม่เหมือนใคร ไม่มีใครเหมือน ลอกเลียนแบบกันไม่ได้ เคยมีผู้นำไปลอกแต่ไม่เข้าใจแนวคิด ปรัชญา วิธีคิด และเทคนิค ก็ไม่เคยประสบผลสำเร็จเลย

อย่าเชื่อ ถ้าไม่เคยลอง และอย่าฟังมาจากใครว่าดีจริง แต่ท่านต้องพิสูจน์ด้วยตัวท่านเองเท่านั้น