คุณจะสร้างอะไรผมไม่รู้หรอก มันก็เรื่องของคุณ
ถ้าให้คุณเลือกระหว่างสร้าง “ระบบ” กับสร้าง “ฅน”
คุณเลือกอะไร แต่เป็นผม...ผมเลือกสร้างฅนก่อน

 คุณจะสร้างอะไรผมไม่รู้ ถ้าให้คุณเลือกระหว่างสร้าง “ระบบ” กับสร้าง “ฅน” ผมไม่รู้หรอกคุณเลือกอะไร แต่เป็นผม...ผมเลือกสร้างฅนก่อนเพราะทุกช่วงที่ผมเป็นผู้บริหารระดับสูงมาในทุกองค์การผมเลือกสิ่งนี้ และผมคิดไม่เคยผิด ระบบสร้างให้ตายฅนก็ล้มได้เสมอจริงม๊ะ❓❔ ดูรัฐธรรมนูญซิ ระบบป่าว เป็นยิ่งกว่า...เป็นระบอบด้วยซ้ำ แล้วไง มันอยู่ที่ไอ้คำว่ามนุษย์หรือ “ฅน” นี่แหล่ะ จบป่ะ ผมสร้างมาแล้วทั้งระบบและฅน

แต่ถ้า “การสร้าง ฅน” ผมจะมองอย่างนี้นะ มองการสร้างฅน คือการปลูกต้นไม้ให้เจริญเติบใหญ่ งอกงามในความดี แข็งแรง แข็งแกร่ง สู้ ต้านทานลมฝนหนักๆ และปัญหาต่างๆ นานาได้ต้องเริ่มต้นที่คุณภาพแล้วจบที่คุณภาพเท่านั้นเป็นตำตอบสุดท้ายครับ

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

สงวนลิขสิทธิ์ 2561©️

อนุญาตให้แชร์ได้ครับ

...................................

02.02.2561

“การสร้าง ฅน” ผมจะมองอย่างนี้นะ มองการสร้างฅน คือการปลูกต้นไม้ให้เจริญเติบใหญ่ งอกงามในความดี แข็งแรง แข็งแกร่ง สู้ ต้านทานแรงลมฝนหนักๆ และปัญหาต่างๆ นานาได้ต้องเริ่มต้นที่คุณภาพแล้วจบที่คุณภาพเท่านั้นเป็นตำตอบสุดท้ายครับ

ผมขอเปรียบเทียบการสร้าง “ฅน” กับรูปแบบการเกษตรกรรม

1. รูปแบบเกษตรกรรม เปรียบเสมือน ระบบการบริหารและพัฒนา ทรัพยากร “ฅน” (HRMandHRD)

2. เตรียมดินที่ดี เปรียบเสมือน การใช้หลักการบริหารทรัพยากร “ฅน” ที่เป็นธรรม และเน้นทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่มีต่อรอง หมกเม็ด ลูบหน้าปะจมูก (มีระเบียบ แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ชัดเจนแล้วมีการทำตามนั้น ไม่ใช่แค่เสือกระดาษ หรือเลือกจะให้ทำหรือไม่ก็ได้ อย่างนั้นเละ) อย่าเลือกเอาถูกใจเป็นที่ตั้ง แต่ได้ละเลยความถูกต้องจนสร้างนิสัยวายป่วงขึ้นตามมาได้ในองค์การ องค์กร ประเภทเสียสัตย์เพื่อ... (เติมเอาเอง) อย่าทำ...ไม่เอา

3. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี เปรียบเสมือนกับการมีระบบการสรรหา คัดเลือก ว่าจ้าง ประเมินผลงาน บรรจุ ต้องหา “ฅนดี” ดูแลให้ดีตลอดเวลาภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดีอย่าให้กลายพันธุ์ก่อนแล้วจึงทำให้เป็น “ฅนเก่ง” (ถ้าเก่งมาก่อนแล้วก็ง่ายขึ้น) จากนั้นต้องทำให้เค้าเป็น “คนมีความสุข” ให้ได้ อย่าใช้ศาสตร์อย่างเดียว ศิลป์ สำคัญมากที่สุด ขั้นตอนนี้องค์การต้องเอาอย่างจริงจังด้วย ผู้นำต้องมีภาวะความเป็นผู้นำสูง ถ้ามือไม่ส่ายหางมันกระดิกไม่ได้หรอกครับ พล่ามแต่ลมปาก ต่างฅนต่างพาย อยากได้ฅนดี ฅนเก่ง ฅนมีความสุขแต่ไม่ทำอะไรเลย มันคงได้หรอกครับ ไอ้ประเภทมีระบบอุปถัมภ์ เส้นสายเนี่ย ใจไม่แข็งพอ พัง ระบบพวกนี้จะนำไปสู่การคอรัปชั่นได้เพราะเอื้อต่อกันจนละเลยและมองข้ามการกระทำผิดตามมาได้ในที่สุด

4. ต้นไม้ต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับพันธ์ุพืชนั้นๆ เช่น จะเอาลิ้นจี่ที่ปลูกได้ผลอร่อยเปรี้ยวอมหวานเพราะมันชอบอากาศหนาวแล้วนำไปปลูกทางใต้ที่ร้อนชื้นมันก็ไม่ได้ผลอย่างที่คาด เปรียบเสมือนบรรยากาศในการทำงาน ถ้านายดึง ลูกน้องดัน ฅนเสมอกันหลีกทางให้ โคตรมีความสุขอยากอยู่ด้วยนานๆ จนเกษียณ จึงต้องสร้างบรรยากาศให้ ฅนมันอยากอยู่เพื่อสร้างความจงรักภักดีระยะยาวไง จริงมั๊ย

5. รดน้ำ พรวนดิน เปรียบเสมือน การบริหารสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ ค่าจ้างเงินเดือน ค่าตอบแทนที่ดี ให้เป็นธรรม เสมอภาค สู้กับกิจการประเภทเดียวกัน หรือขนาดพอๆ กัน หรือในละแวกเดียวได้ เพราะพนักงานจะเปรียบเทียบได้เสมอ หมั่นดูแลสำรวจอย่างสม่ำเสมอ

6. ใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตร ถ้าต้นไม้ที่ปลูกเป็นมะม่วงต้องใช้สูตรเร่งผล (เพราะเราต้องอยากกินลูกของมัน อย่าไปตั้ง KPIs ผิดตั้งแต่แรก) ไม่ใช่เร่งใบให้มันบ้าใบ เพื่อเด็ดไปจิ้มน้ำพริกกินกระมัง อย่าโฟกัสผิดๆ เปรียบเสมือนการพัฒนาบุคลากรต้องมีสูตรในการพัฒนาให้เหมาะกับระดับหรือตำแหน่งงาน และแผนความก้าวหน้าทางอาชีพ (Career Path) ควบคู่ไปด้วย 

7. การขยายพันธุ์พืชที่มีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวิธีตัดกิ่ง ตอน เพาะชำ ฯลฯ เพื่อเพิ่มปริมาณเชิงคุณภาพนั้นๆ เปรียบเสมือนการสร้างวัฒนธรรมองค์การ( Organizational culture ) หรือวัฒนธรรมบริษัท ( Corporate culture ) หมายถึง แนวทางที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันในองค์การ ซึ่งวัฒนธรรมองค์การจะมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ หรือหมายถึงโครงร่างเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive framework) ซึ่งจะต้องเผยแพร่แนวทางที่ว่านั้นให้ทั่วถึงกับพนักงานที่องค์กรสร้างขึ้นมาให้อยู่ในกรอบที่คาดหวังไว้ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันนั่นเองครับ

8. การจัดการกับศัตรูพืช มันต้องมีแหง๋ๆ ก็เพราะเมื่อเราดูแลต้นไม้ดีแล้ว แน่นอนมันจะเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของวัชพืช ไม่ก็แมลงศัตรูพืช กรณีนี้ก็ทำให้ต้นไม้มันมีความทุกข์ไงครับ ก็ต้องแก้ทุกข์โดยใช้ยาฆ่าแมลง หรือใช้อินทรีย์สารในการจัดการศัตรูพืชนั้นๆ (จะใช้ธรรมชาติจัดการหรือวิทยาศาสตร์จัดการก็แล้วแต่ ไม่ให้ส่งผลกระทบตามมา ขึ้นอยู่ว่ารักสิ่งแวดล้อมด้วยป่าว) เปรียบเสมือนฅนในองค์การมีความทุกข์ ก็ต้องมีระบบบริหารจัดการข้อร้องทุกข์ การอุทธรณ์การลงโทษที่เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติตามมาด้วยครับ

9. หากเราดูแลดีพร้อมทั้ง 8 ข้อแล้ว ต้นไม้มันกลายพันธุ์มะม่วงพันธุ์หวานแต่ผลที่ออกมาน้องๆ มะนาว เฮ้อ! เปรียบเสมือนฅนไม่รักดี กระทำความผิดทางวินัย องค์การก็ต้องลงโทษ ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานขององค์การนั้นๆ คือ เมื่อไม่ใช่ฅนดี หรือดีแตก มีคอรัปชั่นอะไรทำนองนี้แม้จะเก่งให้ตายก็อย่าได้เลี้ยงไว้เป็นแบบอย่างที่เลวให้ฅนอื่นเห็นแล้วจะไม่ศรัทธาองค์การ หรือไม่ก็ทำเลวตามมั่งแล้วมึงจะเอากะกูยังไง ท้าทายเอาอีก อย่างนี้องค์การจะสาระวันเตี้ยได้ลงในที่สุด หาความเจริญไม่ได้ เป็นองค์การซ่อนเงื่อนไปซะฉิบ

 คุณภาพของ “ฅน” จึงต้องสร้างขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ และขยายคุณภาพที่เราสร้างไว้นั้นออกไปให้เยอะเป็นเชิงปริมาณจึงจะตอบโจทย์ของคำว่า “การบริหารและพัฒนาทรัพยากร ฅน” ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ 

นักวิทย์ศิลป์      ผู้เชี่ยวชาญ HRM HRD OD Strategic Management TQM ISO 

ผู้นำแห่งกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการ อันดับหนึ่งในประเทศไทย

ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญการบริหาร เข้าใจนายจ้างลูกจ้าง

“ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เป็นธรรม ย้ำหลักสุจริต ไม่คิดเอาเปรียบ”

✺Credit : อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

Ref. : www.KRISZD.com

Credit : ꍏj.Kяιꌗz∂ ꀎ-✞ɧąıཞa̘̫͈̭͌͛͌̇̇̍ṭⒸ

นักวิทย์ศิลป์ Sc̫ίArϯίṧt

ωωω.ƘRISZD.ꉓom     KDV@KRISZD.com

#บริหารทรัพยากรบุคคล #กฎหมายแรงงานปี2560 #Management #KRISZD #number1กฎหมายแรงงานในประเทศไทย #ผู้เชี่ยวชาญHRM_HRD_OD_StrategicManagement_TQM_ISO_Safety_BusinessAnalysis #AjKriszd #AJK #KDV #สภาพการจ้าง #ที่ปรึกษากฎหมายแรงงานอันดับหนึ่ง #อาจารย์กฤษฎ์ #อาจารย์กฤษฎ์อุทัยรัตน์ #ผ่าประเด็นบริหารฅน #LabourProtection#LabourRelation #KriszdUthairatn #คดีแรงงาน #ทนายความคดีแรงงาน #ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน #อันดับ1คดีแรงงาน #ระเบียบข้อบังคับและแนวปฏิบัติการบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับพนักงาน #สัญญาจ้างแรงงาน #สัญญาทางธุรกิจทุกประเภท#สำนักงานอาจารย์กฤษฎ์ #AJKsMissionDevelopmentCenter #AJK_MDC #AJKPublicFigure #SciArtist #นักวิทย์ศิลป์

Note : ระบบ-ระบอบ

คำว่า ระบบ กับ ระบอบ เป็นคำที่หลายคนสงสัยว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร คำว่า ระบบ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า system มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกันตามหลักแห่งความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผลทางวิชาการ เช่น ระบบสุริยะ ระบบนิเวศ ระบบงาน ระบบการบริหาร

ส่วนคำว่า ระบอบ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า regime หมายถึง แบบอย่าง หรือ ธรรมเนียม เช่น ทำถูกระบอบ หรือหมายถึง ระเบียบการปกครอง เช่น การปกครองระบอบประชาธิปไตย การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์