คดีแรงงาน Outsource
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1

สั่นสะเทือนวงการบริหารทรัพยากรบุคคล กฎหมายแรงงานและการ outsource ในประเทศไทย

♦ สืบเนื่องจาก f ที่ผ่านมา อาจารย์แจ้งให้ท่านทราบมาแล้วว่าคดี มาตรา 11/1 ศาลแรงงานภาค 2 จะตัดสินนัดฟังคำพิพากษาในวันนี้ (3 พฤษภาคม 2560) 

เรื่องของเรื่องคือลูกจ้างของบริษัท 3 แห่งที่ผู้ประกอบการไปจ้างมาแบบ Outsource (โดยมีอาจารย์กฤษฎ์เป็นที่ปรึกษา วางระบบ HR และวางระบบกฎหมายแรงงานครบวงจรในแบบ Business Process Management HR and Laws) ได้ฟ้องบริษัทของตนเองเป็นจำเลยที่ 1 และผู้ประกอบการเป็นจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 11/1 ซึ่งอาจารย์ในฐานะที่ปรึกษาและผู้รับมอบอำนาจในการต่อสู้คดีให้ผู้ประกอบการ แนะนำไปว่าต้องยอมรับไปตรงๆ เพราะเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วและผู้  ประกอบการได้แจ้งอาจารย์ไว้แล้วแต่ต้นว่าจะจ้างลูกจ้างผู้รับเหมาทำงานเหมือนลูกจ้างตนเอง (ในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง) อาจารย์ไม่ขัดข้องเพราะเป็นประสงค์ผู้ประกอบการ ทำไปเลย หน้าที่อาจารย์จะหาทางออกให้ถูกกฎหมาย แม้ตีความว่าใช่และเข้า มาตรา 11/1 วรรคแรกก็ตาม คือผู้ประกอบการแพ้คดีมาตรา 11/1 วรรคแรก แต่แนวทางที่อาจารย์ให้และวางไว้ก่อนถูกฟ้อง (ลิขสิทธิ์เฉพาะรายแรกรายเดียวที่แนะนำและทำแบบนี้เท่านั้นจึงได้ผล) แล้วมันก็แผลงฤทธิ์แล้วครับ ทำให้ชนะคดีตามมาตรา 11/1 วรรค 2 คือ ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงถูกตีความเป็นลูกจ้างเสมือนจริงของผู้ประกอบการที่เป็นผู้ว่าจ้างก็จริง แต่แพ้มาตรา 11/1 วรรค 2 คือผู้ประกอบการไม่ต้องให้สิทธิประโยชน์สวัสดิการอะไรเลยกับลูกจ้างรับเหมาค่าแรงตามฟ้อง

❓งง ใช่มั๊ยครับว่าอาจารย์กฤษฎ์ทำได้ยังไง เอาไว้คำพิพากษาตามที่ศาลอ่านในวันนี้ให้ผู้ประกอบการที่อาจารย์เป็นที่ปรึกษาและต่อสู้คดีในศาล "ชนะคดี" และยกฟ้องโจทก์ ออกมาเป็นทางการพร้อมเลขคดีแดงก่อน จะโพสต์เต็มๆ และ f live ผ่าประเด็นฯ นี้กันครับ

ดูเพิ่มเติม ที่นี่ จาก f : http://www.facebook.com/KDV.Corp/posts/296276857494367

ดูเพิ่มเติม ที่นี่ จาก f : http://www.facebook.com/KDV.Corp/posts/271350893320297

ดูเพิ่มเติม ที่นี่ จาก f : http://www.facebook.com/KDV.Corp/posts/270529750069078