อาจารย์กฤษฎ์เล่า PDCA
งานถนัดด้านบริหารคุณภาพสารพัด

ผมเขียนความเห็นจาก #KalinSarasin ที่ว่า “...ผมและคณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยชุดนี้ ได้นำแนวคิด PDCA มาปรับใช้...” น่าสนใจมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอดกัน ดังนี้ครับ

เป็นเรื่องน่ายินดี ผมในฐานะเคยเป็น Lead Assessor ประเมินระบบบริหารจัดการ ISO 9001 ISO 14001 TQM (Total Quality Management) HA (Hospital Accreditation) TQA (Thailand Quality Award) MS-QWL (Management System Quality of Work Life) ฯลฯ และเคยทำงานให้กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมานานกว่า 10 ปี ผมมีมุมมองในฐานะเรียนเรื่องนี้มาโดยตรง จากญี่ปุ่นที่ทำ TQM Deming Award เป็นนักประเมินระบบบริหารจัดการ ที่ปรึกษาจับมากับมือ จึงขอแลกเปลี่ยนเรื่อง P D C A มั่ง

PDCA ถือเป็นเรื่อง Basic และ Classic ที่พลิกโลกมาแล้ว แต่อย่าทำแค่รอบเดียว เมื่อวนครบ 1 รอบ จะเป็น S D C A (Standard Do Check Act) และมันเป็นการยกระดับคุณภาพ เรียกว่า การประกันคุณภาพ (QA : Quality Assurance) ยิ่งมากรอบยิ่งดี นั่นคือการปรับปรุงหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่เรียกกันหลากหลายสำนักว่า... CI หรือ CQI/CQD (Continual Improvement , Continuous Quality Improvement , Continuous Quality Development) จะเรียกยังไงก็ช่างเถอะ เอาแก่น อย่าบ้าทฤษฎีนัก

ที่สำคัญ Do นอกจากเป็นการปฏิบัติตามแผนที่วางแล้ว หากระหว่างทำมีอะไรแปลกๆ ที่โดยสามัญสำนึกก็บอกได้ มองทะลุว่าไม่ควรทำต่ออีก ให้หยุดซะ ไม่จำเป็นต้องรอไปถึงขั้น C check (เสียเวลา เปลืองทรัพยากร) คุณไปเริ่ม P Plan ใหม่ได้เลย แล้ววนไปใหม่ คราวนี้ในขั้นตอน C ต้องรวมถึงการ Study ไปพร้อมกับการตรวจสอบด้วย ที่ยากสุดการ Check ต้องถึงขั้น Verify (ทวนสอบ) ไม่ใช่ใช้ประสบการณ์กับการคาดคะเน คิดเองเออเอง เสียงมากลากไป พูดง่ายๆ ก็คือต้องมีหลักเกณฑ์ มีกติกาที่จะเอามาใช้ ในการทวนสอบด้วยจึงจะใช่ เอาล่ะ หากสิ่งที่ทำไม่เป็นไปตามแผน ก็วนไป D Do ใหม่ แต่มีสิ่งที่ต้องคิดมากๆ คือหากปัจจัยเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน (ยิ่งยุคดิจิตอลแล้วไวมากๆ แผนจะวางแล้วขับเคลื่อนช้าๆ ไม่ได้ จะกินมื้อกลางวันอยู่เรื่อยคงไม่ไหว ผมหมายถึงเช้าชามเย็นชามน่ะนะ) เราก็คงต้องพับแผน แล้วประเมินปัจจัยกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอีกครั้งก่อนวางแผนใหม่ก่อนจะ D-C-A ต่อไป 

ฉะนั้น P-D-C-A ในยุคดิจิตอลต้องขับเคลื่อนไวมากๆ ผู้นำสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อน Leadership นี่แหล่ะทำให้ไวหรือช้า เผลอๆ การจะรอถั่วสุก งาก็อาจไหม้ไปแล้ว ก็...เป็นได้

ใช่เลยครับ ระบบบริหารคุณภาพ มันแพ้ฅนเสมอ โดยเฉพาะฅนเป็นผู้นำองค์กรที่ไม่ใส่ใจ ก็จะพลอยทำให้กลายเป็น Bad Culture 

องค์กรไทย ปากว่าตาขยิบ NATO เยอะครับ (No Action Talk Only) ส่วนใหญ่ทำให้การพัฒนาคุณภาพไปได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง ไม่ต่อเนื่องก็เลยหาความยั่งยืนยากไงล่ะครับ

PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิ่ง หรือเดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือที่ถูกคือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) เพราะพี่แกคิดมาก่อนเดมมิ่งเอาไปใช้จริงจัง จนดังกระหึ่มโลก มันคือ วงจรการควบคุมคุณภาพ (QC Quality Control) ชูฮาร์ตพูดมากว่า 79 ปี ก่อน ค.ศ.1939 ครับ ยังมีมนต์ขลังและพลังอยู่ทุกวันนี้

แต่ฅนสำคัญผิดในการนำไปอ้างอิงและประยุกต์ใช้เรื่อยเปื่อยจนละเลย Concept ที่แท้จริง พอผ่านช่วงสมัยและกาลเวลามิได้นำมาขบคิดอย่างถี่ถ้วนว่า PDCA ในยุค ดิจิตอลควรเป็นอย่างไร อันนี้น่าเป็นห่วงหากไม่ได้แก่นของมัน คุณรู้ไปก็เท่านั้น หากประยุกต์ไม่เป็น เสียของเปล่าๆ เพราะใช้เป็นมันเอามาทำ Strategic Plan Management BSC Development Plan HR Plan ได้หมด...บ้านเราไม่คิดนำ TQM มาต่อยอดงานฝั่งบริหารมัวแต่คิดและเชื่อตำราด้านบริหารธุรกิจ ทั้งที่ฝั่งบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การมันเจ๋งเพราะพิสูจน์มาหมดแล้ว...ขอรับ

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ 

นักวิทย์ศิลป์ 

ผู้เชี่ยวชาญ HRM HRD OD Strategic Management TQM ISO 

ผู้นำแห่งกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการ อันดับหนึ่งในประเทศไทย

ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญการบริหาร เข้าใจนายจ้างลูกจ้าง

“ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เป็นธรรม ย้ำหลักสุจริต ไม่คิดเอาเปรียบ”

✺Credit : อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

Ref. : www.KRISZD.com

Credit : ꍏj.Kяιꌗz∂ ꀎ-✞ɧąıཞa̘̫͈̭͌͛͌̇̇̍ṭⒸ นักวิทย์ศิลป์ Sc̫ίArϯίṧt

ωωω.ƘRISZD.ꉓom

KDV@KRISZD.com

#บริหารทรัพยากรบุคคล #กฎหมายแรงงานปี2560 #Management #KRISZD #number1กฎหมายแรงงานในประเทศไทย #ผู้เชี่ยวชาญHRM_HRD_OD_StrategicManagement_TQM_ISO_Safety_BusinessAnalysis #AjKriszd #AJK #KDV #ที่ปรึกษากฎหมายแรงงานอันดับหนึ่ง #อาจารย์กฤษฎ์ #อาจารย์กฤษฎ์อุทัยรัตน์ #ผ่าประเด็นบริหารฅน #LabourProtection #LabourRelation #KriszdUthairatn #คดีแรงงาน #ทนายความคดีแรงงาน #ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน #อันดับ1คดีแรงงาน  #สำนักงานอาจารย์กฤษฎ์ #AJKsMissionDevelopmentCenter #AJK_MDC #AJKPublicFigure #SciArtist #PDCA #TQM #HA #TQA #MSQWL